เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)นักเรียนเห็นประโยชน์และความสำคัญของกล้วย สามารถนำส่วนประกอบต่างๆ ของกล้วยมาประกอบอาหาร ของเล่น ของใช้หรือประโยชน์อื่นๆ เพื่อปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

Main


Mind  mapping
หน่วย "กล้วยมินเนียน" 




หน่วย : กล้วยมินเนี่ยน

Big Question (คำถามหลัก) นักเรียนจะนำส่วนประกอบของกล้วย เช่น ผล ใบ ต้น หัวปลี  ราก ฯลฯ ไปใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง ?

ภูมิหลังที่มาของปัญหา : กล้วยเป็นหนึ่งในสายพันธุ์พืชที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยไม่ว่าจะเป็นอาหารพิธีกรรม ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณีต่างๆ ดังจะเห็นได้จากพิธีกรรม พิธีการต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น พิธีบายศรีต่างๆ ส่วนประกอบหลักล้วนประกอบด้วยใบตองซึ่งเป็นส่วนประกอบของกล้วย อาจเป็นเพราะกล้วยปลูกง่ายในภูมิภาคเขตร้อนชื้น และมีหลายสายพันธุ์จึงถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของการปรุงอาหารทั้งคน และสัตว์ อีกทั้งยังเป็นภาชนะห่อหุ้มอาหารด้วย  กล้วยเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ไม่ต้องอาศัยการดูแลมาก ทนแล้ง ทนฝน ทั้งนี้กล้วยยังเป็นพืชที่มีการขยายพันธุ์ง่ายโดยอาศัยการแตกหน่อ  กล้วยจึงเป็นสัญลักษณ์หนึ่งในความงอกงามในพิธีมงคล ประเพณี วัฒนธรรมต่างๆ และเป็นส่วนประกอบหลักของอาหารไทย มีคุณค่าทางโภชนาการ หาได้ง่ายให้ผลผลิตตลอดฤดูกาล จึงจัดอยู่ในพืชใกล้ตัวที่ควรรู้ กล้วยจึงเป็นหนึ่งในพืชที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนทั่วไป


 เป้าหมาย (Understanding Goal) : นักเรียนเห็นประโยชน์และความสำคัญของกล้วย สามารถนำส่วนประกอบต่างๆ ของกล้วยมาประกอบอาหาร ของเล่น ของใช้หรือประโยชน์อื่นๆ เพื่อปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้    





ปฏิทินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ PBL (ProblemBasedLearning)
หน่วย: “กล้วยมินเนี่ยน  ระดับชั้นอนุบาล 2 ประจำ (Quarter 3)  ปีการศึกษา  2559

Week
lnput
Process
Output
Outcome
1
25–28 .. 59
โจทย์ :
- ปรับตัว/ สร้างแรง
- ทบทวนวิถี
Key  Questions  :
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรมากที่สุดใน Quarter นี้เพราะอะไร?
- ทำไมถึงอยากเรียนรู้เรื่องนี้?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพืชชนิดต่างๆ ภายในโรงเรียนพร้อมกับเชื่อมโยงเข้าสู่ตัวเราและสิ่งมีชีวิตอื่น
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการปลูกกล้วย
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างผลิตภัณฑ์จากกล้วย
Show and Learn : นำเสนอผลิต   ภัณฑ์จากกล้วย

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศรอบบริเวณโรงเรียน
- นิทานเรื่อง “เต่า ลิง ปลูกกล้วย"

- ครูทบทวนวิถี
- ครูและนักเรียนเดินสำรวจสิ่งต่างๆ รอบบริเวณโรงเรียนทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ต้นกล้วย พืชชนิดต่างๆ
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับพืชชนิดต่างๆ ภายในโรงเรียนพร้อมกับเชื่อมโยงเข้าสู่เรื่องของต้นกล้วย
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปลูกกล้วย
 (การบ้าน)
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเตรียมต้นกล้วย กลุ่มละหนึ่งสายพันธุ์เพื่อนำมาปลูก
- ครูและนักเรียนร่วมกันปลูกกล้วยเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
- ครูเล่านิทานเรื่อง “เต่า ลิง ปลูกกล้วย”เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
- นักเรียนนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกล้วย ( Home school day ) พร้อมทั้งพูดคุยแลกเปลี่ยนวิธีการทำ อุปกรณ์ที่ใช้ให้เพื่อนและครูฟัง
(การบ้าน)
- ครูมีส่วนประกอบของต้นกล้วยให้นักเรียนคนละ 1 ชิ้น นำกลับไปสอบถามผู้ปกครอง สามารถสร้างเป็นผลิตภัณฑ์อะไรได้บ้าง?
- นักเรียนนำเสนอผลิตภัณฑ์จากส่วนประกอบของต้นกล้วย
- นักเรียนวาดภาพต้นกล้วยจากที่เดินสำรวจ
ปั้นดินน้ำมันเป็นสวนกล้วย
- กล้วยแปลงกาย
- ประดิษฐ์ปลาจากใบตองกล้วย

ภาระงาน
- พูดคุยเกี่ยวกับการเดินสำรวจรอบๆ โรงเรียน  ทบทวนวิถี
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพืชชนิดต่างๆ และเรื่องของต้นกล้วย แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
- การปลูกกล้วย
- นำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกล้วย ( Home school day
ชิ้นงาน
ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปสวนกล้วย
- กล้วยแปลงกาย
- ประดิษฐ์ปลาจากใบตองกล้วย


ความรู้
 นักเรียนสามารถบอกความเหมือนและความแตกต่างระหว่างต้นกล้วยกับพืชชนิดอื่นพร้อมทั้งเลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิด
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการสังเกต
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
    เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
  - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

2
31 .. – 4 .ย. 59
โจทย์ :
สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ในหน่วย “กล้วย” 
Key Questions :
-นักเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับกล้วย
และอยากเรียนรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับกล้วย?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ฟังนิทาน
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้เกี่ยวกับชุมชน
Think  Pair Share : สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
Blackboard  Share : สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
Show and Learn : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศในบริเวณโรงเรียน
- นิทานเรื่อง “ลิงน้อยจอมซนกับกล้วยหอม”
- เพลง “ผลไม้”
- ครูและนักเรียนเดินสำรวจสิ่งมีชีวิตรอบบริเวณโรงเรียนพร้อมทั้งสังเกตต้นกล้วยที่ปลูกในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกต้นกล้วย
ครูเล่านิทานเรื่อง ลิงน้อยจอมซนกับกล้วยหอม
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำไอติมจากกล้วย
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำ
“ไอติมกล้วย” เพื่อสร้างแรง
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง "ผลไม้"
ครูเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้บนกระดาน
ครูและนักเรียนช่วยกันจัดหมวดหมู่เกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้
นักเรียนประดิษฐ์มงกุฎกล้วย
- วาดภาพสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ในเรื่องกล้วย
ภาระงาน
- พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องกล้วย
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่ในสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเพลงและนิทานที่ได้ฟัง
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำไอติมกล้วย
- ร่วมกันทำไอติมกล้วย
ชิ้นงาน
วาดภาพสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ในเรื่องกล้วย
ประดิษฐ์มงกุฎกล้วย

ความรู้  :
สามารถแสดงความคิดเห็น และอธิบายสิ่งที่ตนเองรู้และต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับกล้วย โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อสร้างความเข้าใจของตนเองและผู้อื่นได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิด
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการสังเกต
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คุณลักษณะ :
เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
- สามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน

3
7 - 11 .. 59
โจทย์ :
- ผลกล้วย
Key Questions :
- นักเรียนคิดว่าผลกล้วยสามารถนำมาประกอบอาหารอะไรได้บ้าง?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ครูและนักเรียนร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกอบอาหารจากผล
 Wall  Thinking : 
 ใบงานเขียน Web อุปกรณ์และวิธีทำอาหารจากกล้วย
Show and Learn :
นำเสนอ  Web อุปกรณ์และวิธีการทำอาหารจากกล้วย
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศในบริเวณโรงเรียน
- นิทานเรื่อง “กล้วยตั้งไข่”
- เกมกล่องกล้วยปริศนา

ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูและนักเรียนเดินสำรวจต้นกล้วยบริเวณรอบๆ โรงเรียน
- ครูและนักเรียนเล่นเกมกล่องกล้วยปริศนาโดยครูใส่ผลกล้วยแต่ละสายพันธ์ลงในกล่อง (4 กล่อง 4 สายพันธ์) แล้วให้นักเรียนใช้มือล้วงเข้าไปในกล่องเพื่อสัมผัสดูว่าข้างในเป็นกล้วยอะไร สายพันธ์ไหน มีลักษณะรูปร่างเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
- นักเรียนวาดภาพกล้วยที่อยู่ในกล่องโดยที่ครูยังไม่เฉลย
- นำเสนอผลงานพร้อมเฉลย
- ครูเล่านิทานเรื่อง “กล้วยตั้งไข่”เล่าไปตัดไป
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด“ ทำไมกล้วยต้องมีหลายสายพันธุ์ , กล้วยแต่ละสายพันธุ์เราสามารถรับประทานได้ไหม, เราสามารถนำกล้วยไปทำเมนูอะไรได้บ้าง ?
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเมนูอาหารจากกล้วย
- นักเรียนประกอบอาหารเมนู “ข้าวเม่าทอดสอดไส้กล้วย, ขนมปังห่อกล้วย,  กล้วยตาก,กล้วยต้ม,กล้วยปิ้ง,กล้วยทับ ”
- เขียน Web อุปกรณ์และวิธีทำอาหารจากกล้วย
- ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปกล้วย
ภาระงาน
พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเกมกล่องกล้วยปริศนา
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมือนความต่างของกล้วยแต่ละสายพันธุ์
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำอาหารจากกล้วย
- ประกอบอาหารเมนูต่างๆ
- นำเสนอผลงาน
ชิ้นงาน
- เขียน Web อุปกรณ์และวิธีการทำอาหารจากกล้วย
- ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปกล้วย



ความรู้ :
นักเรียนรู้และเข้าใจหน้าที่ของผลกล้วยเห็นประโยชน์สามารถนำผลกล้วยมาประกอบอาหารในเมนูที่หลากหลายเพื่อบริโภคได้ ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิด
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการสังเกต
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
4
14 18 พ.ย. 59
โจทย์ :
-ใบกล้วย
- ก้านกล้วย
Key  Question :
นักเรียนจะสรรสร้างใบกล้วยและก้านกล้วยให้เป็นของเล่นของใช้อะไรได้บ้าง?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
นักเรียนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับใบกล้วยและก้านกล้วยในการนำมาทำของเล่น
Show and Learn :
- นำเสนอชิ้นงานการประดิษฐ์ของ
เล่นของใช้จากใบกล้วยและก้านกล้วย
- ประดิษฐ์กระทงใบกล้วย
- เรือก้านกล้วย
 ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศในบริเวณโรงเรียน
- เพลงใบกล้วยมีประโยชน์
- นิทานเรื่อง “ต้นหอมไปลอยกระทง”
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง ใบกล้วยมีประโยชน์
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ เพลงที่นักเรียนได้ร้องไปใบกล้วยสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง?
- นักเรียนลงมือประดิษฐ์ของเล่นของใช้จากใบกล้วยและก้านกล้วย
- ครูเล่านิทานเรื่อง “ต้นหอมไปลอยกระทง”เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ประเพณีวันลอยกระทง
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ในนิทานเขาใช้อะไรทำกระทง/นักเรียนจะนำใบกล้วยและก้านกล้วยมาทำเป็นกระทงได้อย่างไร/ใบกล้วยและก้านกล้วยสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง
- ประดิษฐ์กระทงใบกล้วย
- แหวน นาฬิกา กระโปรง
- สานเสื่อรองนั่ง
- ใบตองกล้วยแห้งนำมาถูพื้น
- เรือก้านกล้วย
- ปืนก้านกล้วย
- ม้าก้านกล้วย
- รถก้านกล้วย
ภาระงาน
พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมประดิษฐ์ของเล่นของใช้จากใบกล้วยและก้านกล้วย
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเพลงและนิทานที่ได้ฟัง
- นำเสนอผลงาน
ชิ้นงาน
- ประดิษฐ์ของเล่นของใช้จากใบกล้วยและก้านกล้วย
- ประดิษฐ์กระทงใบกล้วย
- แหวน นาฬิกา กระโปรง ผม
- สานเสื่อรองนั่ง
- ใบตองกล้วยแห้งนำมาถูพื้น
- เรือก้านกล้วย
- ปืนก้านกล้วย
- ม้าก้านกล้วย
- รถก้านกล้วย

- ใบงานวาดภาพระบายสีของเล่นของใช้จากใบกล้วย

ความรู้ :
นักเรียนเข้าใจและสามารถนำใบกล้วย ก้านกล้วยมาประดิษฐ์เป็นของเล่นของใช้ได้อย่างเหมาะสม
 ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิด
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการสังเกต
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คุณลักษณะ :
เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

5
21 – 25 .. 59
โจทย์ :
หัวปลี
Key Questions :
 -  นักเรียนคิดว่าหัวปลีสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
 นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเมนูอาหาร อุปกรณ์และวิธีทำอาหารจากหัวปลี
Wall Thinking : 
เขียน Web อุปกรณ์และขั้นตอนการทำอาหารจากหัวปลี
Show and Learn :
นำเสนอใบงานวาดภาพกล้วยแต่ละสายพันธุ์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศในบริเวณโรงเรียน
- นิทานเรื่อง “ฝีมือคุณแม่”
- เพลง “กล้วย”
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์ที่ผ่านมา ”
ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง “กล้วย” 
- ครูเล่านิทานเรื่อง “ฝีมือคุณแม่” เล่าประกอบหุ่นมือ
- ครูให้นักเรียนสังเกตหัวปลี
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง/ หัวปลีสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง/ หัวปลีมีรสชาติอย่างไร”
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเมนูอาหารที่ทำจากหัวปลี
- นักเรียนประกอบอาหารเมนู “ห่อหมกหัวปลี, เหมี่ยงคำปลีกล้วย ,ยำหัวปลี”
- ปั้นดินน้ำมันให้เป็นรูปหัวปลีตามจินตนาการ
- เขียน Web อุปกรณ์และขั้นตอนการทำอาหารจากหัวปลี
- ประดิษฐ์รองเท้าจากหัวปลี
- ออกแบบภาชนะใส่อาหารจากหัวปลี
           
ภาระงาน
พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
แสดงความคิดเห็นเกี่ยว
กับเพลงและนิทานที่ได้ฟัง
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกอบอาหารจากหัวปลี
- ประกอบอาหารเมนูต่างๆ
ชิ้นงาน
- ประดิษฐ์รองเท้าจากหัวปลี
- ออกแบบภาชนะใส่อาหารจากหัวปลี
- ปั้นดินน้ำมันให้เป็นรูปหัวปลีตามจินตนาการ
- เขียน Web อุปกรณ์และขั้นตอนการทำอาหารจากหัวปลี

ความรู้ :
นักเรียนรู้และเข้าใจ เกี่ยวกับหัวปลีพร้อมทั้งประกอบอาหารจากหัวปลีได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิด
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการสังเกต
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คุณลักษณะ :
เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
- สามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
   เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
6
28 .. – 2 .. 59
โจทย์ :
-ลำต้น
- กาบกล้วย
Key  Question :
นักเรียนคิดว่าลำต้นของต้นกล้วยและกาบกล้วยสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกอบอาหารเมนูต่างๆ
Show and Learn :
นำเสนอชิ้นประดิษฐ์หน้ากากจากกาบกล้วย
Wall  Thinking :
ใบงานวาดภาพการเจริญเติบโตของผักที่ปลูกจากลำต้นของกล้วยผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศในบริเวณโรงเรียน
- นิทานเรื่อง “สวนหลังบ้าน”
- เพลง “กล้วย”
-นิทานเรื่อง”สวนหลังบ้าน”

- ครูพานักเรียนเดินสำรวจสิ่งมีชีวิตรอบบริเวณโรงเรียน
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูเล่านิทานเรื่อง “สวนหลังบ้าน” เล่าประกอบหุ่นเงา
- ครูและนักเรียนร่วมกันเดินสำรวจต้นกล้วยที่ปลูกไว้บริเวณรอบอาคารอนุบาล
- ครูนำลำต้นของต้นกล้วยมาให้นักเรียนสังเกต
- ครูและนักเรียนสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการปลูกผักในลำต้นของต้นกล้วย
- ครูและนักเรียนร่วมกันปลูกผัก
- ครูและนักเรียนร่วมกันประกอบอาหารเมนู “แกงหยวกกล้วยใส่หมู, หยวกกล้วยชุปแป้งทอด”
- Show and Learn วิธีการทำอาหารจากลำต้นของกล้วย
- ประดิษฐ์หน้ากากจากกาบกล้วย
- ใบงานวาดภาพการเจริญเติบโตของผักที่ปลูกจากลำต้นของกล้วย
ภาระงาน
พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
แสดงความคิดเห็นเกี่ยว
กับนิทานที่ได้ฟัง
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประกอบของลำต้น
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกอบอาหารเมนูต่างๆ
- นำเสนอผลงาน
 ชิ้นงาน
- ประดิษฐ์หน้ากากจากกาบกล้วย
- ใบงานวาดภาพการเจริญเติบโตของผักที่ปลูกจากลำต้นของกล้วย

ความรู้ : 
นักเรียนรู้และเข้าใจ สามารถอธิบายเกี่ยวกับลำต้นของต้นกล้วยพร้อมทั้งประกอบอาหารในเมนูได้อย่างเหมาะสม ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิด
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการสังเกต
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คุณลักษณะ :
เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
7
59 .. 59
โจทย์ :
ราก
Key Question :
รากกล้วยนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเมนูอาหาร
Wall Thinking :
 เขียน Web วิธีการทำยาจากรากของต้นกล้วย
Show and Learn :
นำเสนอชิ้นงาน Web วิธีการทำยาจากรากของต้นกล้วย
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศในบริเวณโรงเรียน
- เพลง อาหารดีมีประโยชน์

- ครูพานักเรียนเดินสำรวจสิ่งมีชีวิตรอบบริเวณโรงเรียน
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง “อาหารดีมีประโยชน์”
- ครูนำรากของต้นกล้วยมาให้นักเรียนสังเกต
- ครูและนักเรียนสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับรากของต้นกล้วย
- ครูและนักเรียนร่วมกันนำรากของต้นกล้วยมาต้มเพื่อดื่มเป็นยาแก้ร้อนในและแก้ปวดฟัน
- นำรากของต้นกล้วยมาบดให้ละเอียดทำเป็นยาเพื่อรักษาฝี น้ำร้อนลวกหรือผิวหนังที่แดงจากการโดนแดดเผา
 - Show and Learn วิธีการทำยาจากรากของต้นกล้วย
- เขียน Web วิธีการทำยาจากรากของต้นกล้วย
ภาระงาน
พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการต้มรากของต้นกล้วยเพื่อเป็นยาแก้ร้อนใน
แสดงความคิดเห็นเกี่ยว
กับเพลงที่ได้ฟัง
ชิ้นงาน
- เขียน Web วิธีการทำยาจากรากของต้นกล้วย

ความรู้ :
นักเรียนสามารถอธิบายประโยชน์ของรากกล้วยและหน้าที่พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดให้บุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่นๆ เข้าใจได้
 ทักษะ :           
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิด
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการสังเกต
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คุณลักษณะ :
เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
- สามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและ
เหมาะสม
            8
12 – 16.. 59
โจทย์ : 
โครงสร้างของต้นกล้วยกับสิ่งมีชีวิตอื่น
Key  Question : 
นักเรียนคิดว่าต้นกล้วยกับสิ่งมีชีวิตอื่น มีโครงสร้างเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด
Brainstorms : 
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของต้นกล้วยกับสิ่งมีชีวิตอื่น
Show and Learn:                  
ใบงานจิ้มกระดาษแก้วเป็นรูปสิ่งมีชีวิต
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศในบริเวณโรงเรียน
- นิทานเรื่องต้นกล้วยวิเศษ”
- เกมตามล่าหากล้วย

- ครูเล่านิทานเรื่อง “ต้นกล้วยวิเศษ”
- ครูและนักเรียนเดินสำรวจและสังเกตดูต้นกล้วยที่ปลูกไว้ในบริเวณโรงเรียน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเห็นอะไร, นักเรียนคิดว่าต้นกล้วยมีโครงสร้างอย่างไร, นักเรียนคิดว่าโครงสร้างของต้นกล้วยเหมือนหรือแตกต่างกับตัวเราอย่างไร/ แต่ละส่วนทำหน้าที่อะไรบ้าง?”
 - ครูและนักเรียนเล่นเกมตามล่าหาส่วนประกอบต่างๆ ของกล้วย
 - นักเรียนวาดภาพระบายสีส่วนประกอบต่างๆ ของต้นกล้วย พร้อมทั้งระบุให้ชัดเจนว่าสิ่งนี้คือส่วนใดของต้นกล้วย
- เขียน Web การเปรียบเทียบโครงสร้างของต้นกล้วยกับคน
- ประดิษฐ์เปเปอร์มาเช่ต้นกล้วย
- จิ้มกระดาษแก้วเป็นรูปสิ่งมีชีวิต
ภาระงาน
พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงสร้างของต้นกล้วยกับสิ่งมีชีวิตอื่น
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
 ชิ้นงาน
- ใบงานวาดภาพส่วนประกอบต่างๆ ของต้นกล้วย
- ใบงานจิ้มกระดาษแก้วเป็นรูปสิ่งมีชีวิต
- เขียน Web การเปรียบเทียบโครงสร้างของต้นกล้วยกับคน
- ประดิษฐ์เปเปอร์มาเช่ต้นกล้วย

ความรู้ : 
นักเรียนรู้และเข้าใจ สามารถอธิบายหน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆ โครงสร้างความเหมือนความต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิด
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการสังเกต
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คุณลักษณะ :
เคารพสิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
- สามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
 เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
9
19 – 23.. 59
โจทย์ :
ผลิตภัณฑ์จากกล้วย
Key  Questions :
- นักเรียนจะสร้างผลิตภัณฑ์จากส่วนประกอบของกล้วยได้อย่างไร?
-นักเรียนจะออกแบบและว่างแผนผลิตภัณฑ์อย่างไร?
เครื่องมือคิด
Brainstorms : 
-  การจัดการประกวดเครื่องแต่งตัว
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องแต่งตัว
Wall Thinking : 
เขียน Web เครื่องแต่งตัวจากต้นกล้วย
Show and Learn : 
เครื่องแต่งตัวจากทุกส่วนของต้นกล้วย
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศในบริเวณโรงเรียน
- นิทาน “ของขวัญจากลุงกล้วย”
ครูเล่านิทานเรื่อง “ของขวัญจากลุงกล้วย”
- ครูและนักเรียนสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์จากกล้วย
- ครูและนักเรียนช่วยกันออกแบบทำผลิตภัณฑ์จากส่วนประกอบต่างๆ ของต้นกล้วย
- ครูและนักเรียนร่วมกันวางแผน และเตรียมอุปกรณ์ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากส่วนประกอบของต้นกล้วย
-ครูและนักเรียนร่วมกันทำผลิตภัณฑ์จากส่วนประกอบต่างๆ ของต้นกล้วย
- จานรองแก้ว แจกัน ตะกร้าจากกาบกล้วย
- กล้วยฉาบ กล้วยอบน้ำผึ้ง กล้วยตาก กล้วยทับทำจากผลกล้วย
- ยารักษาโรค , ยาแก้ปวดฟัน ยาแก้ร้อนใน ยารักษาฝีที่ทำจากรากกล้วย
- กระทง ถ้วยขนมต่างๆ เรือก้านกล้วยที่ทำจากใบตองและก้านกล้วย
- ภาชนะใส่อาหารที่ทำจากปลีกล้วย


ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์จากกล้วย
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
- นำเสนอผลงาน
 ชิ้นงาน
- จานรองแก้ว แจกัน ตะกร้าจากกาบกล้วย
- กล้วยฉาบ กล้วยอบน้ำผึ้ง กล้วยตาก กล้วยทับทำจากผลกล้วย
- ยารักษาโรค , ยาแก้ปวดฟัน ยาแก้ร้อนใน ยารักษาฝีที่ทำจากรากกล้วย
- กระทง ถ้วยขนมต่างๆ เรือก้านกล้วยที่ทำจากใบตองและก้านกล้วย
- ภาชนะใส่อาหารที่ทำจากปลีกล้วย

ความรู้ : 
นักเรียนสามารถออกแบบวางแผนสร้างผลิตภัณฑ์จากส่วนประกอบต่างๆ ของต้นกล้วยเพื่ออุปโภคบริโภคได้
 ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิด
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการสังเกต
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คุณลักษณะ :
เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
- สามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
 เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
           10
26 – 30 .. 59
โจทย์ :
สรุปองค์ความรู้
Key  Questions :
- ใน Quarter นี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างและนักเรียนจะเผยแพร่สิ่งที่ได้เรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
Brainstorms : 
-  การจัดนิทรรศการ
- รูปแบบการเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้
Wall Thinking : 
เขียน Web สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในหน่วย   “กล้วย
Show and Learn : 
การแสดงละครเรื่อง
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- นิทาน
- เพลง
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ นักเรียนได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับหน่วย “กล้วย”
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างใน Quarter นี้?
ภาระงาน
พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้ หน่วย กล้วย”
- การวางแผน แสดงละคร / ร้องเพลง / เต้นประกอบเพลง
ชิ้นงาน
ใบงานเขียน Web สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในหน่วย กล้วย
- แสดงละครเรื่อง
- เต้นประกอบเพลง
- จัดซุ้มนำเสนอผลิตภัณฑ์จากส่วนประกอบต่างๆ ของกล้วยเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบพื้นถิ่น
ความรู้ : 
นักเรียนสามารถเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับหน่วย “กล้วย” ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
 ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิด
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการสังเกต
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คุณลักษณะ :
เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
- สามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
 เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม



ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์มาตรฐานการเรียนรู้กับพัฒนาการ
หน่วย กล้วยมินเนียน  ระดับชั้นอนุบาล 2 ประจำ Quarter 3  ปีการศึกษา  2/2559
สาระการเรียนรู้
พัฒนาการ
มาตรฐาน/ตัวบ่งชี้
สาระ
1.สร้างฉันทะ สร้างแรงบันดาลใจ เผชิญกับปัญหา
2.  เลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้
  - ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
 - สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
3. โครงสร้างของต้นกล้วย
 - ผลกล้วย
- ใบตอง ก้านกล้วย
- หัวปลี
- ลำต้น กาบกล้วย
- รากกล้วย
4. ประโยชน์
(ของเล่น)
- เรือก้านกล้วย
- ม้าก้านกล้วย
- รองเท้าจากหัวปลี
- รองเท้าจากกาบกล้วย
- หน้ากากจากกาบกล้วย
(ของใช้)
- กระทงใบกล้วย
- จาน ชาม จากหัวปลี
- ตะกร้า จานรองแก้ว ถาดรองสบู่จากกาบกล้วยแห้ง
(อาหาร)
- ขนมกล้วย
- กล้วยบราวนี่
- พิซซ่าหน้ากล้วย
- กล้วยป๊อป
- ขนมปังห่อกล้วย
- กล้วยข้าวเม่า
- หัวปลีชุปแป้งทอด
- ทอดมันหยวกกล้วย
(อื่นๆ)
- ยารักษาโรค
- ลักษณะของราก (รากแก้ว, รากฝอย)
- เปรียบเทียบโครงสร้างของต้นกล้วยกับสิ่งมีชีวิตอื่น
 5. สรุปองค์ความรู้หลังเรียน

ด้านร่างกาย
    ผู้เรียนมีทักษะในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่-เล็กในการเคลื่อนไหวร่างกาย  ประดิษฐ์ชิ้นงาน  ได้แก่  
ขีดเขียน  วาดภาพบุคคลระบายสีไม้สีเทียนเล่นกับสีน้ำ   เช่น เป่าสี  พับสีปั้นดินน้ำมันฉีก- ปะ กระดาษเป็นรูปครอบครัวและสิ่งมีชีวิตอื่นต่อเติมภาพตามจินตนาการประดิษฐ์สิ่งมีชีวิตจากเศษวัสดุต่างๆประกอบอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ  ของร่างกาย การแสดงบทบาทสมมติ/จินตนาการผ่านท่าทางและสีหน้า

พัฒนาการทางด้านร่างกาย
มาตรฐานที่ 1  ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 มีสุขภาพอนามัย  สุขนิสัยที่ดี  และรู้จักรักษาความปลอดภัย
มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 เคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่วและทรงตัวได้
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เล่นและออกกำลังกาย
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3  .ใช้มือได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
ด้านอารมณ์และจิตใจ
     ผู้เรียนมีวินัย  ความรับผิดชอบ  ปฏิบัติตนตามข้อตกลงร่วมกัน  ทำงานจนสำเร็จ  และแสดงความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง  ได้แก่  การShow and Shareผลงานในแต่ละสัปดาห์  การทำใบงานให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด  การเก็บของใช้เข้าที่หลังจากทำใบงานหรือประดิษฐ์ชิ้นงาน
 -  ผู้เรียนช่วยเหลืองานเต็มความสามารถด้วยความ
เต็มใจ  เช่น  การจัดเก็บอุปกรณ์ เก็บกวาดห้องเรียน อาสาแจกใบงาน/อุปกรณ์ให้เพื่อน
 -  ผู้เรียนมีมารยาทและปฏิบัติตามวัฒนธรรมไทย ได้แก่  มีมารยาทในการพูดเมื่อต้องการพูดจะยกมือก่อนพูดทุกครั้ง 
สนใจฟังเมื่อมีผู้อื่นพูด  มีมารยาทในการรับประทานอาหาร  ไหว้ขอบคุณเมื่อรับสิ่งของจากผู้อื่นทุกครั้ง
-  ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดด้วยการนำเศษวัสดุจากการประดิษฐ์ชิ้นงานทิ้งลงถังขยะอย่างถูกที่
    -  ผู้เรียนมีความสนใจงานด้านศิลปะโดยเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะอย่างมีความสุข ได้แก่  การสร้างงานศิลปะด้วยความเต็มใจ  การแสดงความชื่นชมและภาคภูมิใจในผลงานศิลปะ

พัฒนาการทางด้านอารมณ์  จิตใจ
มาตรฐานที่ 3  มีสุขภาพจิตดี  และมีความสุข
ตัวบ่งชี้ที่  3.1  แสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์
ตัวบ่งชี้ที่  3.2  มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
ตัวบ่งชี้ที่  3.3  มีความเห็นอก เห็นใจผู้อื่น
มาตรฐานที่  4  ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ  ดนตรี  และการเคลื่อนไหว
ตัวบ่งชี้ที่  4.1  สนใจและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรี  และการเคลื่อนไหว
ตัวบ่งชี้ที่  4.2  แสดงออกทางด้านศิลปะ  ดนตรี  และการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
มาตรฐานที่  5  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และมีจิตใจที่ดีงาม
ตัวบ่งชี้ที่  5.1  มีความรับผิดชอบ
ตัวบ่งชี้ที่  5.2  ซื่อสัตย์สุจริตและรู้ถูกรู้ผิด
ตัวบ่งชี้ที่  5.3  มีความเมตตากรุณา  มีน้ำใจและ
ช่วยเหลือแบ่งปัน
ตัวบ่งชี้ที่  5.4  ประหยัด อดออม  และพอเพียง
ด้านสังคม
    - ผู้เรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรม  เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข 
   -  ผู้เรียนยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
   -  ผู้เรียนมีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  
   -  ผู้เรียนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อครู  เพื่อนและผู้อื่น

พัฒนาการด้านสังคม 
มาตรฐานที่  6  มีทักษะในการดำเนินชีวิต
ตัวบ่งชี้ที่  6.1  มีวินัยในตนเอง
ตัวบ่งชี้ที่  6.2  ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ตัวบ่งชี้ที่  6.3  ระหวังภัยจากคนแปลกหน้าและสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย
มาตรฐานที่ที่  7  รักธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
ตัวบ่งชี้ที่  7.1  ดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตัวบ่งชี้ที่  7.2  มีสัมมาคารวะและมารยาทตามวัฒนธรรมไทย
ตัวบ่งชี้ที่  7.3  รักความเป็นไทย
มาตรฐานที่  8  อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ตัวบ่งชี้ที่  8.1  ยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล
ตัวบ่งชี้ที่  8.2  มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
ตัวบ่งชี้ที่  8.3  ปฏิบัติตนเบื้องในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ด้านสติปัญญา
    -  ผู้เรียนสามารถเรียงลำดับเหตุการณ์จากการฟังนิทานหรือเรื่องราวได้
    -  ผู้เรียนรู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผลและมีความสนใจใฝ่รู้
    -  ผู้เรียนมีทักษะในการสื่อสาร สามารถถ่ายทอดเรื่องราว
เกี่ยวกับครอบครัว และสิ่งมีชีวิตอื่นจากประสบการณ์ที่ได้พบเห็นให้ผู้อื่นเข้าใจได้
    -  ผู้เรียนสนทนาโต้ตอบเป็นเรื่องราวกับผู้อื่นได้
    -  ผู้เรียนมีทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเอง
    - ผู้เรียนสามารถนับ ตัก ตวงเครื่องปรุงอย่างง่ายๆในการประกอบอาหารได้

พัฒนาการด้านสติปัญญา    
มาตรฐานที่  9  ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
ตัวบ่งชี้ที่  9.1  สนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ
ตัวบ่งชี้ที่  9.2  อ่าน  เขียนภาพ และสัญลักษณ์ได้
มาจรฐานที่  10  มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่  10.1  มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
ตัวบ่งชี้ที่  10.2  มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล
ตัวบ่งชี้ที่  10.3  มีความสามารถในการคิดรวบยอด
มาตรฐานที่  11  มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
ตัวบ่งชี้ที่  11.1  เล่น / ทำงานศิลปะตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง
ตัวบ่งชี้ที่  11.2  แสดงท่าทาง / เคลื่อนไหวตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง
มาตรฐานที่  12  มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้  และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
ตัวบ่งชี้ที่  12.1  มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่  12.2  มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ 


ตาราง เชื่อมโยงหน่วย  “กล้วยมินเนี่ยน ”    กับพัฒนาการทั้ง  4  ด้าน
ด้านร่างกาย
กล้ามเนื้อมัดเล็ก
  -  ขีดเขียน  วาดภาพ               
  -  ระบายสีไม้ สีเทียน  ฝนสี
  -  ปั้นดินน้ำมัน ปั้นแป้งโดว์
  - ฉีก  ปะ ตัด ติด
  - ขยำกระดาษ    
  - ตัดกระดาษตามเส้น
  - พับกระดาษ         
  - ต่อเติมภาพตามจินตนาการ
  - ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ / วัสดุเหลือใช้
  - ประกอบอาหาร  
  - เล่นกับสีน้ำ เช่น เป่าสี  พับสี ฉีดสี กลิ้งสี  พิมพ์สีฯลฯ
กล้ามเนื้อมัดใหญ่
- เล่นเครื่องเล่นสนาม
-  เล่นกีฬา  เกมการละเล่น  เช่น  การโยน-รับลูกบอล  เป็นต้น
-  การเคลื่อนไหวร่างกาย  เช่น  เคลื่อนไหวประกอบเพลง  ประกอบคำบรรยาย  เป็นต้น
-  กระโดดขาเดียว  กระโดดสองขา
-  การประดิษฐ์ชิ้นงาน  หรือการทดลอง
-  การเดิน  การวิ่ง  การกระโดด
-  การดึง  การดัน  การจับ  การขว้าง  การเตะ
-  การเลียนแบบท่าทางสัตว์ต่างๆ
ความสัมพันธ์มือ-ตา
-  การขีดเขียน   การวาดตามแบบ
-  การร้อย
-  การต่อบล็อก
-  การระบายสี
-  การติดกระดุม
-  การหยิบจับสิ่งของ
-  การเล่นเกม  กีฬา  เช่น  การรับ-การโยน
-  การช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวัน เช่น  การรับประทานอาหาร  การแต่งกาย  การสวมใส่รองเท้า  ถุงเท้า  เป็นต้น
-  การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส
ด้านอารมณ์-จิตใจ,  ด้านสังคม
-  การร้องเพลง  การท่องคำคล้องจอง  การทำท่าทางประกอบ
-  การฟังนิทาน  การเล่านิทาน
-  การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ เช่น  เล่นกับเพื่อน  เล่นกับครู  เล่นเครื่องเล่น  ฯลฯ
-  การเล่น  การเก็บของเล่น
-  การแบ่งปัน   การรอคอย
-  การบอกความรู้สึก  ความต้องการ
-  การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน
-  การรู้บทบาทหน้าที่
-  ฯลฯ

ด้านสติปัญญา
- การรับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว
-  การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง  5  ในการเคลื่อนไหวและการเรียนรู้สิ่งต่างๆ  รอบตัว
-  การใช้ภาษาสื่อความหมาย  และความคิด
-  การรู้จักสังเกตคุณลักษณะต่างๆ เช่น  สี  ขนาด  รูปร่าง  เป็นต้น
-  การจดจำชื่อสิ่งต่างๆ รอบตัว
-  การฝึกใช้อวัยวะรับสัมผัสต่างๆ  ได้แก่  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  และผิวหนัง
-  การสนทนาถาม-ตอบ
-  การอธิบาย  การนำเสนอสิ่งที่ทำหรือคิด
-  เกมการศึกษา
-  การทดลอง  ฯลฯ


เชื่อมโยงหน่วย  “ กล้วยมินเนี่ยน ”   กับพัฒนาการสาระพื้นฐาน


ภาษาไทย
คณิตศาสตร์
ภาษาอังกฤษ
วิทยาศาสตร์
การฟัง
-  ฟังนิทาน
-  ฟังเพลงและเคลื่อนไหวทำท่าทางประกอบ
-  ฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง/ข้อตกลง
-  ฟังและตอบคำถาม
-  การเป็นผู้ฟังที่ดี
-  การฟังและจำแนกเสียง  เช่น  เสียงสัตว์
การพูด 
-  บอกความต้องการ/ความรู้สึก
-  สนทนาถาม-ตอบ
-  อธิบายสิ่งที่เข้าใจ
-  ร้องเพลง  คำคล้องจอง
-  แนะนำ/บอกชื่อของสิ่งต่างๆ
-  เล่าหรือถ่ายทอดเรื่องราว เหตุการณ์ที่ได้ฟัง  ได้เห็น  หรือประสบจริง
-  แต่งประโยคจำคำ / ภาพ
-  เล่าเรื่องตามภาพ
การอ่าน
- อ่านตามภาพ
-  อ่านท่าที  ท่าทาง  สีหน้า  ลักษณะต่างๆ
-  การอ่านคำตามภาพ / สัญลักษณ์
-  อ่านตามตัวอย่าง
-  การสะกดคำง่ายๆ  เช่น   แม่ ก กา
การเขียน
-  เขียนตามตัวอย่าง
-  เขียนตามจินตนาการ
-  การเขียนชื่อตนเอง ฯลฯ
การสังเกต  การจำแนก  การเปรียบเทียบ
-  การจำแนกความเหมือนความต่าง  มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ
-  การจัดหมวดหมู่ เช่น รูปร่าง รูปทรง ขนาด สี น้ำหนัก
-  การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ
ด้านตัวเลขและจำนวน
-  การนับจำนวน  ลำดับจำนวน  สัญลักษณ์แทนจำนวน
-  การรู้ค่าจำนวน
-  การดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน
ด้านมิติสัมพันธ์
-  เข้าใจตำแหน่งที่สัมพันธ์กัน
-  เข้าใจระยะ เช่น ใกล้ ไกล ตรงข้าม ระหว่าง
-  การเข้าใจทิศทาง เช่น ซ้าย ขวา หน้า หลัง
-  การต่อชิ้นส่วนภาพ
ทักษะทางด้านเวลา
-  การเปรียบเทียบในเรื่องเวลา
-  การลำดับเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กัน
-  ฤดูกาล
ทักษะการคิด
-  การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง  5
-  การคิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
-  ความคิดสร้างสรรค์
-  การคิดแก้ปัญหา
ทักษะการใช้ภาษา / การสื่อสาร
-  การฟัง
-  การพูด
-  การอ่าน
-  การเขียน
- ท่าทาง  สีหน้า  อารมณ์
การฟัง
-  ฟังคำสั่งเข้าใจ  ปฏิบัติตามได้  เช่น Sit down , Stan   up  เป็นต้น
-  ฟัง  เข้าใจความหมาย  สนทนาโต้ตอบได้  เช่น What  you  name ?  My name  is……..  What  is  this ? It’s a…….
What do  like ?  I  like  ……………
-  ร้องเพลง  เข้าใจความหมาย
การพูด
-  พูดสนทนาโต้ตอบ
-  บอกคำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น  เกี่ยวกับอวัยวะ  เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้  เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต / ไม่มีชีวิต ฯลฯ
การอ่าน
-  อ่านคำศัพท์จากภาพ
-  อ่านตามตัวอย่าง
- อ่าน A-Z
การเขียน
-  เขียน  A-Z
-  เขียนชื่อตัวเอง
-  เขียนคำตามตัวอย่าง
- เขียนประโยคตามตัวอย่าง
ทักษะการสังเกต
- ใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้ม กายสัมผัส
- เปรียบเทียบความเหมือนความต่างของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
- เรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลังของสิ่งต่างๆ
- จัดกลุ่มได้ตามเกณฑ์ง่ายๆ ที่กำหนดขึ้นเอง เช่น สี รูปร่าง รูปทรง ขนาด น้ำหนัก
ทักษะการตั้งคำถาม
ตั้งคำถามจากสิ่งที่สังเกตหรือสงสัยได้อย่างสมเหตุสมผล
ทักษะการคาดเดาเหตุการณ์
คาดเดาคำตอบและคาดเดาได้อย่างสมเหตุผล มีความเป็นไปได้  ตามลำดับขั้นตอน
ทักษะการทดลอง 
- เลือกใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์อย่างง่ายได้อย่างเหมาะสม
- ทดลองตามลำดับขั้นตอน
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
ทักษะเก็บข้อมูล
วาดภาพสรุปขั้นตอนการทดลองตามความเข้าใจของตนเองและอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ
ทักษะการสรุปผล
- พูดสนทนาโต้ตอบ / นำเสนอผ่านภาพเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้

                                                                            ตารางวิเคราะห์เชื่อมโยงหน่วยสาระที่ควรเรียนรู้
ตัวเรา
       รู้จักชื่อ  นามสกุล  รูปร่าง  หน้าตา  รู้จักอวัยวะต่างๆ วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด  ปลอดภัย  การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ  เรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองคนเดียว  หรือกับผู้อื่น  ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น  ความรู้สึก  และมารยาทที่ดี
หน่วยสาระ
1.  หน่วยร่างกาย
2.  หน่วยเด็กดี
3.  หน่วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
4.  หน่วยเนื้อ  นม  ไข่
5. หน่วยอาหาร

บุคคลและสถานที่
           เด็กควรมีโอกาสได้รู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว  สถานศึกษา  ชุมชน  รวมทั้งบุคคลต่างๆ ที่เด็กต้องเกี่ยวข้องหรือมีโอกาสได้ใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิต ประจำวัน


หน่วยสาระ
1.  หน่วยครอบครัว
2.  หน่วยโรงเรียน
3.  หน่วยชุมชน
4.  หน่วยบุคคลสำคัญ
5.  หน่วยเมืองไทย
6.  หน่วยวันสำคัญ  เช่น  วันพ่อ  วันแม่  วันครู  วันเด็ก ฯลฯ

ธรรมชาติรอบตัว
    เด็กควรได้เรียนรู้สิ่งมีชีวิต  สิ่งไม่มี ชีวิต  รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ  เช่น  ฤดูกาล  กลางวัน  กลางคืน  ฯลฯ

หน่วยสาระ
1.  หน่วยสัตว์
2.  หน่วยผีเสื้อ
3.  หน่วยน้ำ
4.  หน่วยพืช  ผัก  ผลไม้
5.  หน่วยดอกไม้
6.  หน่วยอากาศ
7.  หน่วยกลางวัน  กลางคืน
8.  หน่วยโลกสวยด้วยมือเรา
9.  หน่วยฤดูกาล
10.  หน่วยตาวิเศษ
สิ่งต่างๆ รอบตัว
      เด็กควรได้รู้จักสี  ขนาด  รูปร่าง  รูปทรง  น้ำหนัก  ผิวสัมผัสของสิ่งต่างๆ รอบตัว  สิ่งของเครื่องใช้  ยานพาหนะ  และการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิต ประจำวัน

หน่วยสาระ
1.  หน่วยการคมนาคม
2.  หน่วยการสื่อสาร
3.  หน่วยพลังงาน
4.  หน่วยวิทยาศาสตร์
5.  หน่วยคณิตศาสตร์
6.  หน่วยเครื่องมือเครื่องจักร
7.  หน่วยปลอดภัยไว้ก่อน
8.  หน่วยของเล่น  ของใช้