เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)นักเรียนเห็นประโยชน์และความสำคัญของกล้วย สามารถนำส่วนประกอบต่างๆ ของกล้วยมาประกอบอาหาร ของเล่น ของใช้หรือประโยชน์อื่นๆ เพื่อปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้

Week 9


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถสรุปองค์ความรู้ผ่านการพูดอธิบายสื่อความหมายถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้และสามารถสร้างผลิตภัณฑ์จากส่วนประกอบต่างๆ ของกล้วยเพื่ออุปโภคบริโภคได้


Week
lnput
                      Process
Output
Outcome
9
19 – 23 .59
โจทย์ :
- สรุปองค์ความรู้
- ผลิตภัณฑ์จากส่วนประกอบของกล้วย
Key  Questions
- นักเรียนจะสร้างผลิตภัณฑ์จากส่วนประกอบของกล้วยได้อย่างไร?
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างใน Quarterนี้
เครื่องมือคิด 
Brainstorms :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องผลิตภัณฑ์จากส่วนประกอบของกล้วย/ สรุปองค์ความรู้
Wall Thinking : 
เขียน Web สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้หน่วย กล้วยมินเนี่ยน

Show and Learn : ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากส่วนประกอบของกล้วย (ตะกร้าจากกาบกล้วย กล้วยป๊อป)
ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศรอบบริเวณโรงเรียน
- นิทานเรื่อง “ของขวัญจากลุงชาย”
- สื่อจริง “กาบกล้วยแห้ง , กล้วยไข่ กล้วยหอม กล้วยน้ำหว้า”












วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ครูเล่านิทานเรื่อง “ของขวัญจากลุงชาย”
ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “ในนิทานลุงชายมีของขวัญอะไรบ้าง?”
เชื่อม :            
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง เชื่อมโยงเข้าสู่ผลิตภัณฑ์จากส่วนประกอบของกล้วย
ชง :                     
- ครูนำกาบกล้วยแห้งมาให้นักเรียนสังเกต
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร, กาบกล้วยแห้งนำไปทำอะไรได้บ้าง, มีขั้นตอนการทำอย่างไร, อุปกรณ์ในการทำตะกร้ามีอะไรบ้าง?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกาบกล้วยแห้งที่สังเกตเห็นพร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอุปกรณ์และขั้นตอนการทำตะกร้าจากกาบกล้วยแห้ง
ใช้ :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำตะกร้าจากกาบกล้วยแห้ง
- นักเรียนสอบถามเกี่ยวกับอุปกรณ์และขั้นตอนการทำกล้วยป๊อปจากผู้ปกครองพร้อมเตรียมอุปกรณ์ (การบ้าน)

   วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )
ชง : 
- ครูนำอุปกรณ์ที่นักเรียนเตรียมมา มาให้นักเรียนสังเกต
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง, กล้วยป๊อปมีขั้นตอนการทำอย่างไร, มีอุปกรณ์อะไรบ้าง?”

เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกอบอาหารเมนู “กล้วยป๊อปรสชาติต่างๆ” พร้อมสร้างข้อตกลงร่วมกันในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ และทำกิจกรรมร่วมกัน
ใช้ :                     
  ครูและนักเรียนร่วมกันทำอาหารเมนู “กล้วยป๊อปรสชาติต่างๆ”
           
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :                     
  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างใน Quarter นี้?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในหน่วย “กล้วยมินเนี่ยน
ใช้ :
  เขียน webสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุด
วันพฤหัสบดี (1ชั่วโมง )
ชง :
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมาเมื่อวาน
ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนจะเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหน่วย “กล้วยมินเนี่ยน” ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร?
เชื่อม :               
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการการแสดงเพื่อสรุปองค์ความรู้
ใช้ :                      
  นักเรียนแบ่งกลุ่มและเตรียมความพร้อมในการเปิดบ้าน  จัดนิทรรศการ “หน่วยกล้วยมินเนี่ยน”

วันศุกร์ (ชั่วโมง )
ใช้ :
  นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม สืบสายป่าน  สานวัฒนธรรม และเปิดซุ้ม “กล้วย ป๊อป"
ภาระงาน
พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวนิทานที่ได้ฟัง 
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกาบกล้วยแห้งที่สังเกตเห็นพร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอุปกรณ์และขั้นตอนการทำตะกร้าจากกาบกล้วยแห้ง
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกอบอาหารเมนู “กล้วยป๊อปรสชาติต่างๆ”
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในหน่วย “กล้วยมินเนี่ยน
-พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแบ่งกลุ่มการเพื่อจัดนิทรรศการ
ชิ้นงาน                    
- ตะกร้าจากกาบกล้วยแห้ง
- เขียน webสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุด

ความรู้
นักเรียนสามารถสรุปองค์ความรู้ผ่านการพูดอธิบายสื่อความหมายถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้และสามารถสร้างผลิตภัณฑ์จากส่วนประกอบต่างๆ ของกล้วยเพื่ออุปโภคบริโภคได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
  -  คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน



  ภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้





ภาพชิ้นงาน







1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์ที่ 9 พี่ๆ อนุบาล 2 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างผลิตภัณฑ์จากส่วนประกอบต่างๆ ของกล้วยเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค พร้อมทั้งสรุปองค์ความรู้ตลอดทั้ง Quarter 3 ซึ่ง
    พี่ๆ ได้ทำตะกร้าจากกาบกล้วยแห้ง และจานรองแก้ว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำร่วมกันทั้งห้อง พี่ๆ ภูมิใจในผลงานของตนเองโดยเริ่มจากการตากกาบกล้วยให้แห้ง จากนั้นฉีกเป็นเส้นแล้วนำมาถักเปียเพื่อให้กาบกล้วยแห้งมีความมั่นคงและสวยงามมากยิ่งขึ้น พี่ๆ ช่วยกันถักเปียกาบกล้วยแห้งและขึ้นรูปเป็นตะกร้า จานรองแก้วอย่างตั้งใจ ในสัปดาห์นี้พี่ๆ ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้เรียนรู้มาโดยการเล่าให้เพื่อนๆ และครูฟัง เพื่อนๆ ช่วยเพิ่มเติมจากนั้นได้สรุปเป็นเว็บความรู้ของตนเอง การถ่ายทอดองค์ความรู้ในอีกรูปแบบหนึ่งที่จะทำให้ผู้อื่นสามารถรับรู้และเข้าใจได้นั้นคือการจัดนิทรรศการของพี่ๆ ในหน่วยกล้วยมินเนี่ยน ครูและนักเรียนได้พูดคุยและเตรียมตัว ซักซ้อมเพื่อเปิดบ้านจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจในสิ่งที่เรียนมา โดยพี่พลอยใสเสนอว่า”เต้นประกอบเพลงกล้วยค่ะ” พี่แสตมป์ “ทำขนมต่างๆ ที่เราได้ทำมาให้เพื่อนๆ พี่ๆ ได้มาชิมครับ” พี่ไดมอนด์ “ทำเรือก้านกล้วยครับ” พี่ๆ ช่วยกันสรุปเพื่อให้ได้วิธีที่ดีที่สุดนั้นคือ การแบ่งเป็นฐานความรู้ทั้งหมด 7 ฐาน ฐานที่1 ยาแก้ปวดฟัน (รากกล้วย) ฐานที่2 ผลิตภัณฑ์จากกาบกล้วยตากแห้ง ฐานที่3 เรือก้านกล้วย ฐานที่4 ทอดมันหยวกกล้วย ฐานที่5 หัวปลีชุปแป้งทอด ฐานที่6 กล้วยป๊อป ฐานที่7 ขนมกล้วย เมื่อได้ข้อสรุปแล้วพี่ๆ ได้แบ่งกลุ่มและเตรียมความพร้อมของตนเองในแต่ละฐาน ภายในสัปดาห์นี้มีงานวิ่งว่าวหรืองาน “สืบสายป่าน สานวัฒนธรรม”ของพี่ป.5 พี่อนุบาล 2 จึงได้เข้าร่วมงานโดยพี่อนุบาล 2 ได้จัดซุ้มขนมกล้วยป๊อปเพื่อร่วมงานกับพี่ด้วย ภายในงานพี่ๆ สนใจในการทำว่าว ดูการแสดงของพี่ๆ และอิ่มท้องกับอาหารและขนมในแต่ละซุ้มที่ถูกจัดเตรียมมาเป็นอย่างดี พี่อนุบาล 2 เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการทำกิจกรรมต่างๆ มากยิ่งขึ้น และทำได้เยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ