เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)นักเรียนเห็นประโยชน์และความสำคัญของกล้วย สามารถนำส่วนประกอบต่างๆ ของกล้วยมาประกอบอาหาร ของเล่น ของใช้หรือประโยชน์อื่นๆ เพื่อปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้

Week 6


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนรู้และเข้าใจโครงสร้างของต้นกล้วย สามารถอธิบายเกี่ยวกับส่วนประกอบของลำต้น (กาบ, หยวก) พร้อมทั้งสามารถบอกคุณประโยชน์และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
Week
lnput
                      Process
Output
Outcome
6
28 .- 2 .  59
โจทย์ :
 ลำต้น
Key  Questions
- ลำต้นของต้นกล้วยประกอบด้วยอะไรบ้าง?
- ลำต้นของต้นกล้วยกับต้นไม้อื่นๆ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด 
Brainstorms :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประกอบของลำต้นของต้นกล้วยและประโยชน์
Show and Learn : นักเรียน Show and Learn สมุดวาดภาพระบายสีผักที่สังเกตเห็น
ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศรอบบริเวณโรงเรียน
- นิทานเรื่อง “สวนหลังบ้าน”
- สื่อจริง “ลำต้นของต้นกล้วย”












วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูนำลำต้นของต้นกล้วยมาให้นักเรียนสังเกต
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็น
ชง :
  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าเราสามารถปลูกผักกับลำต้นของต้นกล้วยได้หรือไม่ เพราะอะไร?”
 เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการปลูกผักกับลำต้นของต้นกล้วย

ใช้ :                                          
   นักเรียนปลูกผัก (ผักกาด,ผักคะน้า) ใส่ลำต้นกล้วยและใส่กระถาง
            วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )
ชง :                                
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูเล่านิทานเรื่อง “สวนหลังบ้าน”เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่เรื่องของต้นกล้วย
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ในนิทานพูดถึงอะไรบ้าง, เกิดอะไรขึ้นบ้าง, ต้นกล้วยสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
ชง :                     
  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าส่วนประกอบของลำต้นของต้นกล้วยมีอะไรบ้าง?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับส่วนประกอบของลำต้นของต้นกล้วยและโครงสร้างหน้าที่ของต้นกล้วย
ใช้ :
  นักเรียนวาดภาพระบายสีส่วนประกอบของลำต้นของตนกล้วยลงในสมุด
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูนำหยวกกล้วยให้นักเรียนสังเกต
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง, สามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง?” เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่การประกอบอาหารจากหยวกกล้วย
เชื่อม :
   ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็นและอาหารที่ประกอบจากหยวกกล้วยเมนู “ทอดมันหยวกกล้วย”
ใช้ :
- นักเรียนเขียนวัตถุดิบส่วนประกอบอาหารเมนู “ทอดมันหยวกกล้วย” ลงในสมุด
- นักเรียนสอบถามขั้นตอนกระบวนการประกอบอาหารพร้อมเตรียมวัตถุดิบ (การบ้าน)
วันพฤหัสบดี (1ชั่วโมง )
ชง : 
  ครูนำวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการทำอาหารเมนู “ทอดมันหยวกกล้วย”มาให้ให้นักเรียนสังเกต
เชื่อม : 
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวัตถุดิบ/อุปกรณ์และขั้นตอนกระบวนการทำอาหารเมนู “ทอดมันหยวกกล้วย”
ใช้  : 
  ครูและนักเรียนร่วมกันประกอบอาหารเมนู”ทอดมันหยวกกล้วย” รับประทานร่วมกันพร้อมแบ่งปัน
วันศุกร์ (ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด“นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง, นักเรียนได้ทำกิจกรรมอะไรบ้าง, ลำต้นของต้นกล้วยสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง, ต้นกล้วยมีประโยชน์อะไรบ้าง?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำมาตลอดทั้งสัปดาห์
ใช้ :
  นักเรียนทำหน้ากากจากกาบกล้วยพร้อม Show and Learn ภาพวาดระบายสีส่วนประกอบลำต้นของต้นกล้วย
ภาระงาน
พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวัตถุดิบ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการทำอาหารเมนู “ทอดมันหยวกกล้วย”
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปลูกผักกับลำต้นของต้นกล้วย
- ร่วมกันปลูกผัก
- ร่วมกันประกอบอาหารเมนู “ทอดมันหยวกกล้วย”
- นำเสนอผลงาน
ชิ้นงาน
วาดภาพระบายสีส่วนประกอบของลำต้นของต้นกล้วยลงในสมุด
- ประดิษฐ์หน้ากากจากกาบกล้วย
- วาดภาพผักที่สังเกตเห็นลงในสมุด
ความรู้
นักเรียนรู้และเข้าใจโครงสร้างของต้นกล้วย สามารถอธิบายเกี่ยวกับส่วนประกอบของลำต้น (กาบ, หยวก) พร้อมทั้งสามารถบอกคุณประโยชน์และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
  -  คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
- สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
- นักเรียนบันทึกวาดภาพการเจริญเติบโตของผักที่ปลูกในลำต้นกล้วยและในกระทง
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน



รูปภาพกิจกรรมการเรียนรู้









ตัวอย่างชิ้นงาน





1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์ที่ 6 พี่ๆ อนุบาล 2 เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของลำต้น ทั้งลำต้นของต้นกล้วยและลำต้นของต้นไม้ชนิดอื่นๆ พี่ๆ สามารถอธิบายเกี่ยวกับส่วนประกอบของลำต้น พร้อมทั้งบอกคุณประโยชน์ของลำต้นกล้วยและนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ จากที่พี่ๆ ได้สังเกตดูต้นกล้วยจึงมีคำถามเกิดขึ้นว่า “ต้นกล้วยกับต้นไม้ชนิดอื่นๆ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร” คำตอบของพี่ๆ เมื่อได้ยินคำถาม “พี่แสตมป์: ต้นกล้วยจะมีใบแตกออกมาด้านข้าง ต้นไม้อื่นจะมีลำต้นยาวและสูงครับ พี่อ๋อมแอ๋ม : ต้นกล้วยจะมีใบยาวๆ ออกไป ต้นไม้อื่นใบจะสั้นค่ะ พี่อุ้ม : ต้นกล้วยจะมีหัวปลีและผลกล้วยค่ะ แต่ต้นไม้อื่นไม่มี พี่ไดมอนด์ : ต้นกล้วยแต่ละต้นไม่เหมือนกัน และต้นกล้วยก็สามารถเอามาปลูกผักได้ด้วยครับ พี่จินจู : ใบกล้วยจะใหญ่กว่าใบไม้อย่างอื่นและเอามาห่อขนมกับอาหารได้ด้วยค่ะ พี่สายไหม : ต้นกล้วยมีสีเขียว ต้นไม้อื่นจะมีสีน้ำตาลและสีดำ ต้นกล้วยข้างในพี่เขาจะนุ่มแต่ต้นไม้อื่นจะแข็งค่ะ ลำต้นของต้นกล้วยมีประโยชน์มากทั้งนำมาทำเป็นอาหารและนำมาปลูกผัก พี่ๆ อนุบาล 2 ได้ปลูกผักในลำต้นของต้นกล้วยซึ่งคำถามที่ตามมาคือ “พี่ผักจะตายไหมครับ พี่เขาจะปลูกยังไงครับ” เมื่อปลูกไปแล้ว 2 วัน พี่กรบอกว่า “พี่ผักเขาดูดน้ำจากลำต้นของต้นกล้วยใช่ไหมครับ เพราะว่าผมเห็นน้ำในต้นกล้วยเยอะมาก” การประกอบอาหารจากหยวกกล้วยพี่ๆ ให้ความสนใจดีมากพร้อมที่จะเรียนรู้ ในสัปดาห์นี้พี่อนุบาล 2 ทำกิจกรรมและให้ความร่วมมือ สนใจในกิจกรรมมีส่วนร่วมและทำได้ยอดเยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ