เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)นักเรียนเห็นประโยชน์และความสำคัญของกล้วย สามารถนำส่วนประกอบต่างๆ ของกล้วยมาประกอบอาหาร ของเล่น ของใช้หรือประโยชน์อื่นๆ เพื่อปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้

Week 1


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถบอกความเหมือนและความแตกต่างระหว่างต้นกล้วยกับพืชชนิดอื่น เกิดความใคร่รู้อยากเรียนรู้เรื่องกล้วย 

Week
lnput
                      Process
Output
Outcome
1
25 - 28 .59
โจทย์ :
สร้างแรงบัลดาลใจ
ปรับตัว
 Key  Questions
ต้นกล้วยกับต้นไม้ชนิดอื่นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?
เครื่องมือคิด 
Brainstorms :
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพืชชนิดต่างๆ ภายในโรงเรียนพร้อมกับเชื่อมโยงเข้าสู่ตัวเราและสิ่งมีชีวิตอื่น
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการปลูกกล้วย
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างผลิตภัณฑ์จากกล้วย
Show and Learn : นำเสนอผลิตภัณฑ์จากกล้วย
Wall Thinking : ใบงานวาดภาพวิธีการทำผลิตภัณฑ์จากส่วนประกอบของต้นกล้วย
ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศรอบบริเวณโรงเรียน
- นิทานเรื่อง “เต่า ลิง ปลูกกล้วย"
- เกมปริศนาคำทาย "ผลไม้"
- เพลง "ผลไม้"
- สื่อจริง “ต้นกล้วย”












วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนเดินสำรวจสิ่งต่างๆ รอบบริเวณโรงเรียน เช่น ต้นกล้วย พืชชนิดต่างๆ
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นจากการสำรวจรอบๆ บริเวณโรงเรียน
ชง :
- นักเรียนสังเกตผลิตภัณฑ์จากกล้วยที่เพื่อนๆ นำมา ( Home school day )
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง, แต่ละอย่างนักเรียนคิดว่ามีวิธีการทำอย่างไร?”
- Show and Learn ผลิตภัณฑ์จากกล้วย
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับอุปกรณ์และวิธีการทำผลิตภัณฑ์จากกล้วย กิจกรรม( Home school day )
 ใช้ :
- นักเรียนวาดภาพสิ่งที่พบเห็นจากการเดินสำรวจรอบๆบริเวณโรงเรียน
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำต้นกล้วยมากลุ่มละสายพันธ์เพื่อนำมาปลูกในวันพุธ(การบ้าน)
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :                            
- ครูเล่านิทานเรื่อง เต่า ลิง ปลูกกล้วยเพื่อสร้างแรงบัลดาลใจให้นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่อง “กล้วย
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ในนิทานตัวละครมีใครบ้าง, มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง?
เชื่อม :                        
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
ชง :
  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด”นักเรียนคิดว่าต้นกล้วยกับต้นหมากเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างต้นกล้วยกับพืชชนิดอื่น เช่น ต้นหมาก อื่นๆ
ใช้ :
- นักเรียนทำป้ายชื่อกลุ่ม
- ครูและนักเรียนร่วมกันปลูกต้นกล้วย
วันพฤหัสบดี (1ชั่วโมง )
ชง :
- ครูนำปริศนาคำทายเกี่ยวกับผลไม้ เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่เรื่องกล้วยให้นักเรียนอยากเรียนรู้เพิ่มขึ้น
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด ในเกมปริศนาคำทายมีผลไม้อะไรบ้าง, เคยเห็นที่ไหน, มีสีอะไร?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับผลไม้ที่นักเรียนรู้จักเชื่อมโยงเข้าสู่กล้วย
ใช้ :
- นักเรียนปั้นดินน้ำมันผลไม้ที่นักเรียนรู้จัก
- ครูมีส่วนประกอบของต้นกล้วยให้นักเรียนคนละ 1 ชิ้น เพื่อนำกลับไปสอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับการสร้าง ผลิตภัณฑ์จากส่วนประกอบนั้นๆ (การบ้าน)
วันศุกร์ (ชั่วโมง)
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง “ผลไม้”
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ในเนื้อเพลงมีผลไม้อะไรบ้าง?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเพลงที่ได้ฟัง
ชง:
  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ชิ้นส่วนของต้นกล้วยที่นักเรียนได้ไปสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง, มีวิธีทำอย่างไร?”
เชื่อม:
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากส่วนประกอบต่างๆ ของต้นกล้วยพร้อมวิธีการทำ
ใช้ :
  ประดิษฐ์ปลาจากใบตอง
ภาระงาน
- พูดคุยเกี่ยวกับการเดินสำรวจรอบๆ โรงเรียน  ทบทวนวิถี
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพืชชนิดต่างๆ และเรื่องของต้นกล้วย
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
- การปลูกต้นกล้วย
- นำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกล้วย
( Home school day )
ชิ้นงาน
ปั้นดินน้ำมันเป็นผลไม้ที่นักเรียนรู้จัก
- ประดิษฐ์ปลาจากใบตองกล้วย
- ป้ายชื่อกลุ่ม (งานกลุ่ม)
ความรู้
นักเรียนสามารถบอกความเหมือนและความแตกต่างระหว่างต้นกล้วยกับพืชชนิดอื่น เกิดความใคร่รู้อยากเรียนรู้เรื่องกล้วย ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
  -  คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน


ตัวอย่างรูปภาพกิจกรรมการเรียนรู้













ตัวอย่างชิ้นงาน




1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์แรกของการเปิดเรียน เป็นการปรับตัวสร้างแรง ทบทวนวิถี ในวันแรกพี่ๆ อนุบาล 2 เดินสำรวจบริเวณรอบๆ โรเรียน ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนเห็นอะไร จากการสำรวจ ครูนำต้นกล้วยมาให้นักเรียนสังเกต ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนเห็นอะไร สามารถเอาไปทำอะไรได้บ้าง ?
    พี่อ๋อมแอ๋ม : เห็นลำต้นของต้นกล้วยค่ะ
    พี่แสตมป์ : เห็นก้านกล้วยและใบกล้วยครับ
    พี่วันใหม่ : เห็นรากของต้นกล้วยค่ะ
    พี่าย : เห็นก้านกล้วยเอาไปทำม้าก้านกล้วยเล่นได้ครับ
    พี่เพลง : เห็นกาบของต้นกล้วยค่ะ
    ในวันต่อมาครูให้นักเรียน นำต้นกล้วยมาคนละ 1 ต้น พี่ๆ อนุบาล 2 ร่วมกันปลูกกล้วยบริเวรรอบๆ ตึกอนุบาล ระหว่างที่ปลูก มีคำถามจากพี่อ่อมแอ๋ม : ทำไมต้องปลูกเอารากของต้นกล้วยขึ้นมาด้วยค่ะ พี่หนูยิ้ม : ทำไมหน่อก้ลวยต้องเกิดขึ้นมาข้างต้นกล้วยด้วยค่ะ พี่ๆ อนุบาล 2 เขียนส่วนประกอบของต้นกล้วยที่นำมาปลูกมามีส่วนประกอบอะไรบ้างพร้อมนำเสนอให้ครูและเพื่อน ๆ ฟัง ในสัปดาห์แรกของการเปิดเรียนเห็นความงอกงามของพี่ๆ อนุบาล 2 ในการดูแลตัวเอง รู้เวลา ในการทำงานมีความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้นกระตื้อรื้อร้นอยากที่จะเรียนรู้ อยากรู้อยากเห็นมีคำถามอยู่ตลอดเวลา ตลอดทั้งสัปดาห์พี่ๆ ทุกคนทำได้เยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ