เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)นักเรียนเห็นประโยชน์และความสำคัญของกล้วย สามารถนำส่วนประกอบต่างๆ ของกล้วยมาประกอบอาหาร ของเล่น ของใช้หรือประโยชน์อื่นๆ เพื่อปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้

Week 4


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถนำใบกล้วย ก้านกล้วยมาประดิษฐ์เป็นของเล่นของใช้ได้อย่างเหมาะสม
Week
lnput
                      Process
Output
Outcome
4
14 - 18 .59
โจทย์ :
- ของเล่น
- ของใช้
Key  Question
นักเรียนจะสรรสร้างใบกล้วยและก้านกล้วยให้เป็นของเล่นของใช้อะไรได้บ้าง?
เครื่องมือคิด 
Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับใบกล้วยและก้านกล้วยในการนำมาทำเป็นของเล่นของใช้
Show and Learn : นำเสนอชิ้นงาน“กระทงใบกล้วย กระทงใส่ขนม เรือก้านกล้วย ม้าก้านกล้วย รถก้านกล้วย ขนมกล้วย”
ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศรอบบริเวณโรงเรียน
- นิทานเรื่อง “ต้นหอมไปลอยกระทง"
- สื่อจริง “ใบตองกล้วย ก้านกล้วย ”












วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูเล่านิทานเรื่อง “ต้นหอมไปลอยกระทง”เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ประเพณีวันลอยกระทง
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด“ในนิทานใช้อะไรทำกระทง, ใบกล้วยและก้านกล้วยสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง, นักเรียนจะนำใบกล้วยและก้านกล้วยมาทำเป็นกระทงได้อย่างไร?”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวัสดุ และวิธีการทำกระทงใบกล้วย

ใช้ :
- ครูและนักเรียนร่วมกันประดิษฐ์กระทงใบกล้วย
- นักเรียนสอบถามวิธีการทำของเล่นจากก้านกล้วยเช่น “เรือก้านกล้วย รถก้านกล้วย ม้าก้านกล้วย”จากผู้ปกครองพร้อมทั้งเตรียมอุปกรณ์มาด้วย (การบ้าน)

            วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูนำสิ่งของที่นักเรียนเตรียมมาให้นักเรียนสังเกต
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด“นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง, ก้านกล้วยนำไปทำเป็นของเล่นอะไรได้บ้าง? ”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับการนำก้านกล้วยไปทำเป็นของเล่น
ชง :
  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ของเล่นจากก้านกล้วย “เรือก้านกล้วย ม้าก้านกล้วย รถก้านกล้วย” มีอุปกรณ์และขั้นตอนวิธีการทำอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับอุปกรณ์และขั้นตอนวิธีการทำ “เรือก้านกล้วย ม้าก้านกล้วย รถก้านกล้วย”
ใช้ :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำ “เรือก้านกล้วย ม้าก้านกล้วย รถก้านกล้วย”
- ครูและนักเรียนร่วมกันแข่งเรือก้านกล้วย ม้าก้านกล้วยและรถก้านกล้วย
- นักเรียนเตรียมใบตองกล้วยมาคนละ 1 ใบ (การบ้าน)
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนเมื่อวาน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ใบตองกล้วยสามารถนำมาทำเป็นของใช้อะไรได้บ้าง?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำกระทงใส่ขนมจากใบ
ชง :
- ครูนำวัตถุดิบในการทำขนมกล้วยมาให้นักเรียนสังเกต
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง, สามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง?”
เชื่อม :  
  ครูและนักเรียนสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวัตถุดิบในการทำขนมกล้วย
ใช้ :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำ “กระทงใส่ขนม”
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำขนมกล้วย
วันพฤหัสบดี (1ชั่วโมง )
ชง : 
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด เมื่อวานนักเรียนได้ทำอะไรบ้าง, ทำจากส่วนไหนของต้นกล้วย, นักเรียนจะใช้ใบไม้ชนิดใดทำเป็นกระทงใส่ขนมได้บ้าง, นักเรียนคิดว่าใบไม้ชนิดไหนที่มีลักษณะคล้ายกับใบกล้วยบ้าง?”
เชื่อม :                 
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับชนิดของใบไม้ที่นำมาทำเป็นกระทงใส่ขนมและใบไม้ที่มีลักษณะคล้ายกับใบกล้วย
 ใช้  : 
  นักเรียนทำกิจกรรม “กระทงใบกล้วย ของเล่นจากก้านกล้วย ของใช้จากใบตองกล้วย ขนมกล้วย” เป็นกลุ่ม
วันศุกร์ (ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด“นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง, นักเรียนได้ทำกิจกรรมอะไรบ้าง, ใบกล้วยและก้านกล้วยสามารถนำมาทำเป็นของเล่นของใช้อะไรได้บ้าง?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำมาตลอดทั้งสัปดาห์
ใช้ :
  นักเรียน Show and Learn ชิ้นงาน “กระทงใบกล้วย กระทงใส่ขนม เรือก้านกล้วย ม้าก้านกล้วย รถก้านกล้วย ขนมกล้วย” เป็นกลุ่ม
ภาระงาน
พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวัสดุ และวิธีการทำกระทงใบกล้วย
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอุปกรณ์และขั้นตอนวิธีการทำ “เรือก้านกล้วย ม้าก้านกล้วย รถก้านกล้วย”
- นำเสนอผลงาน
ชิ้นงาน
- ประดิษฐ์กระทงใบกล้วย
- ประดิษฐ์กระทงใส่ขนมกล้วย
- ประดิษฐ์ เรือก้านกล้วย ม้าก้านกล้วย รถก้านกล้วย”
ความรู้
นักเรียนเข้าใจและสามารถนำใบกล้วย ก้านกล้วยมาประดิษฐ์เป็นของเล่นของใช้ได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
  -  คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน


ตัวอย่างกิจกรรมเรียนรู้





 

 





ตัวอย่างชิ้นงาน


1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์ที่ 4 พี่ๆ อนุบาล 2 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับของเล่นของใช้จากใบกล้วยและก้านกล้วย ในสัปดาห์นี้ตรงกับวันลอยกระทงพอดี พี่ๆ จึงได้ทำกระทงเพื่อที่จะนำไปลอยและทำกิจกรรมกับผู้ปกครองซึ่งพี่ๆ ได้เตรียมอุปกรณ์ในการทำกระทงมาและทำกระทงอย่างตั้งใจ จากนั้นพี่ๆ อนุบาล 2 ได้เย็บกระทงใบกล้วยเพื่อนำไปแบ่งปันให้กับพี่ ป. 1 เพื่อที่จะนำกระทงใส่ต้นอ่อนทานตะวัน พี่อิมกับพี่กร : หนูเอากระทงมาแบ่งปันค่ะ ผมและเพื่อนๆ ช่วยกันทำได้ 25 กระทง พี่อนุบาล 2 สอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับการนำก้านกล้วยไปทำเป็นของเล่น ซึ่งพี่น๊อตบอกว่า : พี่ก้านกล้วยเอาไปทำเป็นม้าก้านกล้วยครับผมเคยทำและเคยเล่นแล้ว พี่กาแฟ : ผมอยากเอามาทำเป็นปืนครับ พี่ฮิว : ทำเป็นม้าก้านกล้วยกับเครื่องบินก็ได้นะแค่เอาก้านกล้วยมาหักแล้วเอาไม้เสียบหัว พี่อุ้ม : แม่บอกว่าทำเป็นรถก้านกล้วยหรือว่าเรือก้านกล้วยก็ได้ค่ะ ครูจึงพาพี่ๆ ทำเรือก้านกล้วย และทดลองเล่นระหว่างที่เล่นอยู่นั้น พี่พลอยใส : หนูไม่เคยเห็นและไม่เคยเล่นเลยแต่มันก็สนุกดีนะค่ะ หนูจะพาแม่ทำและเอาไปเล่นกับน้อง หนูขอเอากลับบ้านนะค่ะ พี่ๆ นำเรือก้านกล้วยที่ตนเองทำกลับบ้านด้วยความดีใจและสนุกสนาน วันต่อมาพี่อนุบาล 2 ได้เตรียมอุปกรณ์มาทำขนมกล้วยเพื่อใส่กระทงใบกล้วยที่พี่ๆ ทำเตรียมไว้ตั้งแต่วันอังคารพี่ๆ ช่วยเติมส่วนผสมและช่วยทำ พี่อ๋อมแอ๋ม : หนูเคยทานแล้ว พี่เขาอร่อยมากเลย ทำเสร็จแล้วเอาไปนึ่งใช่ไหมค่ะ พี่เขาก็จะหอมมาก พี่สายไหม : กล้วยไข่เอามาทำได้ไหมค่ะ พี่หนูดี : ทำไมต้องเอากล้วยน้ำหว้า เอากล้วยหอมได้ไหมค่ะ พี่ๆ ร่วมรับประทานขนมกล้วยและแบ่งปัน จากนั้นเป็นการสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์ ในสัปดาห์นี้พี่อนุบาล 2 ตั้งใจในการทำกิจกรรมเป็นอย่างมากให้ความร่วมมือและสนใจที่จะเรียนรู้ พี่ๆ ทำได้เยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ