เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)นักเรียนเห็นประโยชน์และความสำคัญของกล้วย สามารถนำส่วนประกอบต่างๆ ของกล้วยมาประกอบอาหาร ของเล่น ของใช้หรือประโยชน์อื่นๆ เพื่อปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้

Week 7



เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอธิบายประโยชน์ของรากกล้วยและหน้าที่พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดให้บุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่นๆ เข้าใจได้

Week
lnput
                      Process
Output
Outcome
7
 5 – 9    ธ.59
โจทย์ :
รากกล้วย
Key  Question
รากกล้วยนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง?
เครื่องมือคิด 
Brainstorms :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ของรากกล้วย การทำยารักษาโรคจากรากกล้วยและพืชชนิดอื่น
Show and Learn : นำเสนอวิธีการทำยารักษาโรคจากรากกล้วยและรากผักหรือพืชชนิดต่างๆ
ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศรอบบริเวณโรงเรียน
- นิทานเรื่อง “อาหารดีมีประโยชน์”  
- สื่อจริง “รากกล้วย และรากพืชชนิดต่างๆ”












วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง “อาหารดีมีประโยชน์”
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ในเพลงมีอาหารอะไรบ้าง, อาหารที่มีประโยชน์เป็นอย่างไร?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเพลงที่ได้ฟัง
ชง :
- ครูนำรากกล้วย รากตะไคร้ รากกล้วยไม้ รากผักชี รากหอมแดง รากกระเทียมมาให้นักเรียนสังเกต
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร, เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร, รากของพืชมีหน้าที่อะไร, ถ้าพืชไม่มีรากจะเป็นอย่างไร เพราะอะไร?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็น
ใช้ :
- นักเรียนปั้นดินน้ำมันเป็นผักและรากผักชนิดต่างๆ ที่สังเกตเห็น
- นักเรียนสอบถามวิธีการนำรากกล้วยไปทำเป็นยารักษาโรคกับผู้ปกครอง (การบ้าน)
วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “รากกล้วยสามารถนำไปทำเป็นยารักษาโรคอะไรได้บ้าง , นักเรียนคิดว่ามีรากของพืชชนิดใดบ้างที่สามารถนำมาเป็นยารักษาโรคได้?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำรากกล้วยและรากของพืชชนิดต่างๆ มาทำเป็นยารักษา โรคพร้อมทั้งเชื่อมโยงเข้าสู่ประโยชน์ของรากกล้วย
ชง :
  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ยารักษาอาการปวดฟันมีขั้นตอนการทำอย่างไร, อุปกรณ์มีอะไรบ้าง?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับอุปกรณ์และขั้นตอนการทำ “ยารักษาอาการปวดฟัน”
ใช้ :
- นักเรียนเขียนอุปกรณ์และขั้นตอนการทำ “ยารักษาอาการปวดฟัน” ลงในสมุด
- นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ในการทำ”ยารักษาอาการปวดฟัน” (การบ้าน)
            วันพุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
  ครูและนักเรียนทบทวนอุปกรณ์และขั้นตอนวิธีการทำ “ยารักษาอาการปวดฟัน” พร้อมสร้างข้อตกลงร่วมกันในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ และทำกิจกรรมร่วมกัน
ใช้ :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำ “ยารักษาอาการปวดฟัน” พร้อมทดลองใช้
- นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ ใบบัวบก ตะไคร้ เพื่อทำเป็นยา (การบ้าน)

       วันพฤหัสบดี (1ชั่วโมง )
ชง : 
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่ารากของต้นกล้วยและรากของพืชชนิดอื่นมีลักษณะอย่างไร, แต่ละรากเรียกว่าอย่างไร, ทำหน้าที่อะไรบ้าง?
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง, สามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง?”
เชื่อม :                 
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะของรากแต่ละชนิดและหน้าที่ของรากต่างๆ
ชง : 
- ครูนำอุปกรณ์ ใบบัวบก ตะไคร้ ที่จะทำเป็นยามาให้นักเรียนสังเกต
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง, สามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง?” พร้อมเชื่อมโยงเข้าสู่ประโยชน์ของรากกล้วยและรากพืชชนิดอื่น
เชื่อม :                 
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำยารักษาโรคและประโยชน์จากพืชชนิดต่างๆ
ชง :
  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ใบบัวบกและตะไคร้สามารถนำไปทำเป็นยารักษาโรคอะไรได้บ้าง, มีอุปกรณ์และขั้นตอนการทำอย่างไร?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำยารักษาโรคจากใบบัวบก ตะไคร้ และอุปกรณ์ขั้นตอนการทำ

 ใช้  : 
  ครูและนักเรียนร่วมกันทำยา “แก้ชำใน และแก้ปวดท้อง” เป็นกลุ่ม
วันศุกร์ (ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด“นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง, นักเรียนได้ทำกิจกรรมอะไรบ้าง, รากกล้วยสามารถนำมาทำเป็นยารักษาโรคอะไรได้บ้าง, รากพืชและรากผักชนิดต่างๆ สามารถนำมาทำเป็นยารักษาโรคอะไรได้บ้าง, รากแต่ละชนิดมีชื่อเรียกว่าอย่างไร, มีหน้าที่ทำอะไรและมีลักษณะเป็นอย่างไร?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำมาตลอดทั้งสัปดาห์

ใช้ :
  นักเรียน Show and Learn วิธีการทำยารักษาโรคจากรากกล้วยและรากของพืชชนิดต่างๆ พร้อมทั้งบอกประโยชน์ให้เพื่อนและครูฟังเป็นกลุ่ม
ภาระงาน
พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำยารักษาโรคจากผักและรากผักชนิดต่างๆ
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเพลงที่ได้ฟัง
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะของราก ประโยชน์และหน้าที่ของรากกล้วย
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอุปกรณ์และขั้นตอนวิธีการทำ “ยารักษาอาการปวดฟัน”
- นำเสนอผลงาน
ชิ้นงาน
- ปั้นดินน้ำมันเป็นผักและรากของพืชชนิดต่างๆ ที่สังเกตเห็น
- เขียนอุปกรณ์และขั้นตอนการทำ “ยารักษาอาการปวดฟัน” ลงในสมุด
ความรู้
นักเรียนสามารถอธิบายประโยชน์ของรากกล้วยและหน้าที่พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดให้บุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่นๆ เข้าใจได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
  -  คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน



รูปภาพกิจกรรมการเรียนรู้






ตัวอย่างชิ้นงาน




1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์ที่ 7 นี้ พี่ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องลักษณะของราก (รากแก้ว รากฝอย) ซึ่งพี่ๆ อนุบาล2 สามารถอธิบายประโยชน์ของรากกล้วยและหน้าที่ของรากได้ พี่ๆ เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่แตกต่างและมากขึ้น ซึ่งสังเกตได้จากการตอบคำถาม “รากมีลักษณะเป็นอย่างไร รากมีหน้าที่ทำอะไร” พี่ไดมอนด์ : รากจะมีอยู่ 2 แบบครับ คือรากแก้วกับรากฝอย รากแก้วช่วยในการดูดอาหารดูดน้ำครับ รากฝอยที่พี่เขาเป็นเส้นเล็กๆ ช่วยยึดหน้าดินครับ พี่ใบพลู : พี่รากช่วยในการลำเลียงน้ำและอาหารให้ต้นไม้ค่ะ พี่อ๋อมแอ๋ม : รากพี่เขาช่วยดูดอาหารและน้ำไปเลี้ยงต้นไม้ให้เจริญเติบโตและสูงใหญ่ค่ะ” จากการตอบคำถามสังเกตได้ว่าพี่อนุบาล 2 ได้สนใจ สอบถามและทำการบ้านจากกิจกรรม Home school Day คือการเพาะถั่วงอกด้วยวิธีการต่างๆ และสังเกตดูการเจริญเติบโต พี่ๆ สามารถเล่าให้ฟังได้ว่ามีวิธีการเพาะถั่วงอกแบบใดบ้าง วัสดุอุปกรณ์มีอะไรบ้างถั่วงอกเจริญเติบโตแบบใด โดยเริ่มจากพี่น๊อต : ผมใช้ขวดน้ำพลาสติกเล็กๆ นำมากรีดตรงกลางขวดแล้วเจาะรู ผมเอาเมล็ดถั่วเขียวใส่เข้าไปรดน้ำแล้วใช้ผ้าปิดไว้ เอาไปเก็บในห้องน้ำสองวันพี่เขาก็เริ่มมียอดอ่อนออกมา (ยอดอ่อนนั้นคือรากของถั่วงอก) ในสัปดาห์นี้พี่อนุบาล 2 เกิดการเรียนรู้ที่ไม่ใช่แค่ในห้องเรียน แต่เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการสังเกตและลงมือทำร่วมกับครูและผู้ปกครอง พี่ๆ ทำได้เยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ