เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)นักเรียนเห็นประโยชน์และความสำคัญของกล้วย สามารถนำส่วนประกอบต่างๆ ของกล้วยมาประกอบอาหาร ของเล่น ของใช้หรือประโยชน์อื่นๆ เพื่อปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้

Week 2


เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถเลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้พร้อมบอกเหตุผลอีกทั้งสามารถอธิบายสิ่งที่ตนเองรู้และต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับกล้วย โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อสร้างความเข้าใจของตนเองและผู้อื่นได้

Week
lnput
Process
Output
Outcome
2

31.- 4 .59
โจทย์ :
- เลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้
- สิ่งที่รู้แล้ว
- สิ่งที่อยากเรียนรู้
 Key  Question
นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรมากที่สุดเพราะอะไรจึงอยากเรียนเรื่องนั้น?
เครื่องมือคิด 
Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ได้ดูและได้ฟัง
ครูและนักเรียนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับกล้วย
Card & Chart : นักเรียนวาดภาพสิ่งที่อยากเรียนรู้
Blackboard  Share : สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
Wall Thinking : สิ่งที่อยากเรียนรู้
ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศในบริเวณโรงเรียน
- นิทานเรื่อง “ลิงน้อยจอมซนกับกล้วยหอม”
- เพลง “ผลไม้”











วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูและนักเรียนเดินสำรวจสิ่งมีชีวิตรอบๆ บริเวณโรงเรียนพร้อมทั้งสังเกตต้นกล้วยที่ปลูกในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง/ต้นกล้วยที่นักเรียนปลูกไว้วันแรกกับวันนี้เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?”
เชื่อม :                                  
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นจากการสำรวจรอบๆ บริเวณโรงเรียนและความเปลี่ยนแปลงของต้นกล้วย
ใช้ :                                   
  นักเรียนวาดภาพต้นไม้ต่างๆ เช่น ต้นกล้วย ต้นมะขาม อื่นๆ

วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูเล่านิทานเรื่อง ลิงน้อยจอมซนกับกล้วยหอมเพื่อสร้างแรงบัลดาลใจให้นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องกล้วยมากขึ้น 
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง, ในนิทานมีตัวละครใดบ้าง?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
ชง :
- นักเรียนสังเกตอุปกรณ์ในการทำขนมปังห่อกล้วยได้แก่ ขนมปัง,กล้วยหอม, มีด , เขียง เป็นต้น
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง, คิดว่าสิ่งที่สังเกตเห็นสามารถนำไปทำอะไรได้บ้างอย่างไร?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวัตถุดิบ/ อุปกรณ์และวิธีการทำขนมปังห่อกล้วย
ใช้ :
ครูและนักเรียนร่วมกันทำขนมปังห่อกล้วย
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ที่ผ่านมาเมื่อวาน
- นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรมากที่สุดใน Quarter นี้ เพราะอะไร
- นักเรียนเลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้ผ่านเครื่องมือการคิด Card & Chart โดยการวาดภาพ
เชื่อม :                                  
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้ใน Quarter นี้ โดยการนำ Card & Chart ที่นักเรียนวาดมาจัดเป็นกลุ่ม
ชง :
  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจ เพราะอะไร?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ผ่านเครื่องมือการคิด Blackboard  Share
ใช้ :                      
  นักเรียนวาดภาพระบายสีสิ่งที่อยากเรียนรู้
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง "ผลไม้"
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด”เพลงที่ได้ฟังนักเรียนรู้จักผลไม้อะไรบ้าง/มีลักษณะรูปร่างเป็นอย่างไร?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเพลงที่ได้ฟัง
ชง :
  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับกล้วยแล้วบ้าง?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วเกี่ยวกับกล้วย
ชง :
  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิดนักเรียนอยากเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับกล้วยบ้าง?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้เรื่องกล้วย

วันศุกร์ (ชั่วโมง)
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด ในสัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง, เรียนรู้อย่างไร
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ :
  Show and Learn สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
ภาระงาน
- พูดคุยเกี่ยวกับเกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นจากการสำรวจรอบๆ บริเวณโรงเรียน
 - พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่ในสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
 - พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเพลงและนิทานที่ได้ฟัง
- พูดคุยระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำ
ขนมปังห่อกล้วย
- ร่วมกันทำขนมปังห่อกล้วย
ชิ้นงาน
วาดภาพสิ่งที่อยากเรียนรู้
- วาดภาพต้นไม้ต่างๆ เช่น ต้นกล้วย ต้นมะขาม อื่นๆ
ความรู้
นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับความเหมือนและความแตกต่างของต้นกล้วยและพืชชนิดอื่น สามารถบอกและเลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้พร้อมอธิบายให้เหตุผลได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
  -  คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้
ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

   
                                                                      ภาพกิจกรรมการเรียนรู้
                                         


































1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน

    สัปดาห์ที่ 2 นี้ พี่ๆ อนุบาล 2 ได้เลือกสิ่งที่ตัวเองอยากเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือ Card and Chart หลังจากนั้นทุกคนช่วยกันตั้งชื่อโครงงาน และให้ยกมือเลือกชื่อที่ชอบที่สุด พี่ๆ อนุบาล 2 ได้ตั้งชื่อ หน่วยการเรียนรู้มาทั้งหมด 3 ชื่อ คือ “กล้วยน่ารัก , ชุมชนกล้วยหอม , กล้วยมินเนียน” หลังจากที่ตั้งชื่อการเรียนรู้แล้ว พี่ๆ อนุบาล 2 ได้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชื่อหน่วยการเรียนรู้อีกครั้งเพื่อให้ได้ชื่อหน่วยการเรียนรู้ และพี่ๆ ก็ได้ชื่อหน่วยการเรียนรู้“กล้วยมินเนียน” ต่อมาทุกคนได้บอกสิ่งที่รู้แล้ว และสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับกล้วย

    สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับ หน่วย “ กล้วยมินเนีย ”
    ระดับชั้นอนุบาล 2 Quarter 3 ปีการศึกษา 2559

    สิ่งที่รู้แล้ว
    - กล้วยหอม (พี่ออม)
    - กล้วยไข่ (พี่สายไหม, พี่อ๋อมแอ๋ม)
    - ไอศรีมกล้วย ( พี่พลอยใส)
    - กล้วยตานี (พี่วันใหม่)
    - กล้วยหอมทอง (พี่อิม)
    - กล้วยน้ำหว้า (พี่หนูดี)
    - รากกล้วย ( พี่ข้าวหอม)
    - ก้านกล้วย (พี่พลอย)
    - ใบตองกล้วย (พี่ใบพลู)
    - กล้วยฉาบ (พี่อุ้ม)
    - กาบกล้วย (พี่จินจู)
    - กล้วยอบน้ำผึ้ง (พี่สาว)
    - กล้วยทับ (พี่อิ่มบุญ)
    - หน่อกล้วย ( พี่หนูยิ้ม )
    - กล้วยสามสี ( พี่ไดมอนด์)
    - กล้วยปิ้ง (พี่แสตมป์)
    - ม้าก้านกล้วย (พี่น๊อต)
    - กล้วยพัด (พี่ภูมิ)
    - หัวปลี (พี่กร)
    - หยวกกล้วย (พี่โช๊ค)
    - กล้วยบวชชี (พี่กาแฟ)
    - กล้วยเล็บมือนาง (พี่ฮิว)
    - กล้วยทอด (พี่เพลง)

    สิ่งที่อยากเรียนรู้

    - ทำไมต้องเรียกกล้วยหอม (พี่ออม)
    - รากกล้วยมาจากไหน (พี่สายไหม)
    - ทำไมต้องกินกล้วย (พี่พลอยใส)
    - ใบตองกล้วยทำไมสีไม่เหมือนกัน (พี่วันใหม่ , พี่กาแฟ)
    - ทำไมต้องมีต้นกล้วย (พี่อิม)
    - ทำไมเรียกว่าหัวปลี (พี่หนูดี)
    - กล้วยทอดทำอย่างไร (พี่ใบพลู)
    - ทำไมต้องเรียกว่ากล้วยไข่ (พี่อ๋อมแอ๋ม)
    - ทำไมต้องเรียกว่าหยวกกล้วย (พี่ข้าวหอม)
    - หน่อกล้วยเกิดมาจากไหน (พี่หนูยิ้ม)
    - ทำไมต้องมีกาบกล้วย (พี่แสตมป์)
    - ทำไมใบตองกล้วยมีสีเขียว (พี่อิ่มบุญ)
    - ใบตองกล้วยทำไมเหมือนกัน (พี่อุ้ม)
    - ทำไมเราต้องปลูกต้นกล้วย (พี่กร)
    - ทำไมกล้วยกินได้ (พี่กาย)
    - ทำไมกล้วยไม่มีดอก (พี่เพลง)

    ตลอดทั้งสัปดาห์ พี่ๆ ทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี พี่ๆ สนุกกับการเดินสำรวจสิ่งมีชีวิตต่างๆ การทำขนมปังห่อกล้วยเพื่อเป็นแรงบันดาลใจอยากให้พี่ๆ เรียนเรื่องกล้วย และสามารถบอกในสิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี พี่ๆ ทุกคนทำได้ยอดเยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ