เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)นักเรียนเห็นประโยชน์และความสำคัญของกล้วย สามารถนำส่วนประกอบต่างๆ ของกล้วยมาประกอบอาหาร ของเล่น ของใช้หรือประโยชน์อื่นๆ เพื่อปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้

Week 8


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนรู้และเข้าใจ สามารถอธิบายโครงสร้าง หน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆ ของต้นกล้วยได้ เห็นความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (คน พืช สัตว์)

Week
lnput
                      Process
Output
Outcome
8
12 – 16 .59
โจทย์ :
โครงสร้างของต้นกล้วยกับสิ่งมีชีวิตอื่น
Key  Question
นักเรียนคิดว่าโครงสร้างของคน พืช สัตว์ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด 
Brainstorms :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมือนและความแตกต่าง (คน พืช สัตว์)
Show and Learn : 
ใบงานจิ้มกระดาษแก้วเป็นภาพสัตว์
ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศรอบบริเวณโรงเรียน
- นิทานเรื่อง  “ต้นกล้วยวิเศษ”
- สื่อจริง
- เกมตามล่าหาส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต
- เพลง “ร่างกายของหนู”











วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูเล่านิทานเรื่อง “ต้นกล้วยวิเศษ” เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ส่วนประกอบต่างๆ ของต้นกล้วย
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ในนิทานพูดถึงสิ่งใดบ้าง, ต้นกล้วยมีส่วนประกอบอะไรบ้าง, ทำหน้าที่อะไรบ้าง?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
ใช้ :
  นักเรียนวาดภาพระบายสีส่วนประกอบของต้นกล้วยพร้อมระบุชื่อส่วนต่างๆ อย่างชัดเจนลงในสมุด
          
วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนเดินสำรวจต้นไม้บริเวณรอบๆ โรงเรียน เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่พืชชนิดอื่นๆ
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด ต้นไม้แต่ละต้นเหมือนหรือต่างกันอย่างไร, มีส่วนใดบ้างที่คล้ายกับต้นกล้วย?
เชื่อม :                                
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับความเหมือนและความแตกต่างของต้นกล้วยและต้นไม้ชนิดอื่นๆ
ใช้ : 
  ปะติดรูปต้นไม้จากวัสดุธรรมชาติ

วันพุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูนำแผ่นภาพจิ๊กซอว์รูปต้นกล้วยและร่างกายของคนมาให้นักเรียนสังเกตและต่อเติมชิ้นส่วนที่ขาดหายไป
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด นักเรียนเห็นอะไรบ้าง, ส่วนประกอบของต้นกล้วยมีอะไรบ้าง แต่ละส่วนคล้ายกับอวัยวะส่วนใดของตัวเราบ้าง?”
เชื่อม :                                
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมือนและความแตกต่างของโครงสร้างคนและต้นกล้วย ใช้ : 
  ประดิษฐ์หน้ากากคนจากจานกระดาษ

วันพฤหัสบดี (1ชั่วโมง )
ชง : 
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง”ร่างกายของหนู” พร้อมเชื่อมโยงเข้าสู่อวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ของสัตว์
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าโครงสร้างส่วนใดบ้างของสัตว์ที่เหมือนกับโครงสร้างของตัวเรา, มีหน้าที่อะไรบ้าง, ถ้าไม่มีโครงสร้างส่วนนั้นจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?”

เชื่อม :                 
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเพลงทีได้ฟังและหน้าที่ของโครงสร้างส่วนต่างๆ ของคนและสัตว์ ใช้  :                                   
  นักเรียนจิ้มกระดาษแก้วภาพสัตว์

วันศุกร์ (ชั่วโมง )
ชง : 
- ครูและนักเรียนร่วมกันเล่นเกมตามล่าหาส่วนประกอบต่างๆ ของคน พืช สัตว์
- นักเรียนแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม โดยครูกำหนดให้แต่ละกลุ่มตามหาส่วนประกอบของสิ่งนั้น
เชื่อม :                 
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำกิจกรรม
ชง :  
  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง, นักเรียนตามหาส่วนต่างๆ ของสิ่งใด, ต้นกล้วย คน พืช สัตว์ มีโครงสร้างที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมือนความต่างของต้นกล้วยกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตอื่น
ใช้ :
   นักเรียน Show and Learn ชิ้นงานจิ้มกระดาษแก้วภาพสัตว์
ภาระงาน
พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแผ่นภาพจิ๊กซอว์รูปต้นกล้วย
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปร่างอวัยวะส่วนต่างๆ ของคน ทำหน้าที่เหมือนหรือต่างกันกับตัวเราอย่างไรเพื่อเชื่อมโยงไปสู่โครงสร้างของต้นกล้วยและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำกิจกรรมและความเหมือนความต่างของต้นกล้วยกับส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตอื่น
- นำเสนอชิ้นงาน
ชิ้นงาน
วาดภาพระบายสีส่วนประกอบของต้นกล้วยพร้อมระบุชื่อส่วนต่างๆ อย่างชัดเจนลงในสมุด
- ปะติดรูปต้นไม้จากวัสดุธรรมชาติ
- ประดิษฐ์หน้ากากคนจากจานกระดาษ
- จิ้มกระดาษแก้วภาพสัตว์
ความรู้
นักเรียนรู้และเข้าใจ สามารถอธิบายโครงสร้าง หน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆ ของต้นกล้วยได้ เห็นความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (คน พืช สัตว์)
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด         
  -  คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน



รูปภาพกิจกรรมการเรียนรู้








 ตัวอย่างชิ้นงาน







1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์ที่ 8 นี้ พี่อนุบาล 2 ได้เรียนรู้เรื่องของโครงสร้างของต้นกล้วยกับสิ่งมีชีวิต ซึ่งพี่ๆ เกิดกระบวนการเรียนรู้สามารถเชื่อมโยงและอธิบายความเหมือนความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (คน พืช สัตว์) รู้และเข้าใจหน้าที่ของโครงสร้างต่างๆ โดยพี่แสตมป์บอกว่าลำต้นของต้นกล้วยเหมือนกับลำตัวของคนและสัตว์ครับ เพราะว่าพี่เขาคือส่วนที่ใหญ่ที่สุดครับ พี่อ๋อมแอ๋ม : ก้านกล้วยเหมือนกับแขนของเราค่ะ เพราะว่าพี่เขากลมและยาวเหมือนพี่แขนค่ะ พี่กาย/พี่น๊อต : ใบกล้วยเหมือนกับแขนของเราครับ เริ่มจากรักแร้จนถึงนิ้วมือ พี่ฮิว : รากกล้วยเหมือนกับนิ้วมือคนเพราะเขาชี้ออกมาและเขาช่วยให้ต้นไม้โต พี่กร : หัวปลีเหมือนกับผู้หญิงที่เป็นแม่ครับ เพราะพี่เขามีลูกกล้วยครับ พี่ๆ ได้สำรวจดูสิ่งมีชีวิตรอบๆ บริเวณโรงเรียนเปรียบเทียบความเหมือนความต่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (คน พืช สัตว์) รู้จักอวัยวะหรือส่วนประกอบต่างๆ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันและทำหน้าที่แตกต่างกัน ในสัปดาห์นี้พี่อนุบาล 2 ได้ช่วยกันทำพิซซ่าหน้ากล้วยที่ให้คุณค่าทางอาหารและอร่อย โดยผู้ปกครองมาร่วมสร้างการเรียนรู้ให้กับลูกๆ พี่ๆ ช่วยกันทำอย่างตั้งใจและเกิดคำถามมากมายระหว่างที่ทำ “ทำไมต้องใส่อบเชย/ ทำไมต้องใส่กล้วยสุดท้าย/ ทำไมต้องใช้ส้อมจิ้มให้แป้งเป็นรู” ซึ่งคำตอบที่ได้คือ “เพื่อกลิ่นที่หอมขึ้น ที่ต้องใส่กล้วยสุดท้ายเพราะว่าเป็นหน้ากล้วยจึงต้องตกแต่งด้วยกล้วยเป็นขั้นตอนสุดท้ายและที่ต้องใช้ส้อมเจาะแป้งให้เป็นรูเพราะว่าเมื่อเราอบแป้งจะได้เกิดการพองตัวและมีรูระบาย แป้งก็จะสุกเท่ากันทั้งแผ่นครับ” พี่ๆ เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่ใช่แค่นั่งเรียนแต่เกิดจากการลงมือปฏิบัติ และสังเกตเห็นจึงเกิดคำถามและค้นหาคำตอบ เกิดการวิเคราะห์สังเคราะห์ความเหมือนความต่างของสิ่งมีชีวิตและตลอดทั้งสัปดาห์นี้พี่ๆ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน พี่ๆ ทำได้เยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ