เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)นักเรียนเห็นประโยชน์และความสำคัญของกล้วย สามารถนำส่วนประกอบต่างๆ ของกล้วยมาประกอบอาหาร ของเล่น ของใช้หรือประโยชน์อื่นๆ เพื่อปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้

Week 3


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนรู้และเข้าใจเห็นคุณค่าและประโยชน์ของผลกล้วย สามารถนำมาประกอบอาหารในเมนูที่หลากหลายเพื่อบริโภคได้

Week
lnput
Process
Output
Outcome
3
  7 – 11
  พ.59
โจทย์ :
กล้วยแปลงกาย
 Key  Question
ผลกล้วยสามารถนำมาประกอบอาหารอะไรได้บ้าง?
เครื่องมือคิด 
Brainstorms :
ครูและนักเรียนร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์และการประกอบอาหารจากผลกล้วย
Show and Learn : 
นำเสนอ กระบวนการทำอาหารเมนู “กล้วยข้าวเม่า”
ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศในบริเวณโรงเรียน
- สื่อของจริง “กล้วยไข่ กล้วยน้ำหว้า กล้วยหอม ลองกอง แก้วมังกร สับปะรด อื่นๆ”










วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
“นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์ที่ผ่านมา”
เชื่อม :                        
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ชง :
  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนรู้จักอาหารอะไรบ้างที่ทำจากผลกล้วย”
เชื่อม :                        
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับเมนูอาหารที่ทำจากผลกล้วยพร้อมเลือกเมนูที่จะทำ “เมนูกล้วยข้าวเม่า”
ใช้ :
- นักเรียนจิ้มสีภาพกล้วย (งานกลุ่ม)
- นักเรียนสอบถามวัตถุดิบและวิธีการทำอาหาร เมนู “กล้วยข้าวเม่า” จากผู้ปกครอง (การบ้าน)
วันอังคาร (1ชั่วโมง )
ชง :
- ครูนำกล้วยไข่ กล้วยน้ำหว้าและกล้วยหอมให้นักเรียนสังเกต
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “กล้วยแต่ละหวีเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร, แต่ละหวีมีชื่อว่าอย่างไร?
เชื่อม : 
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับความเหมือนและความแตกต่างของกล้วยแต่ละหวี
ชง :
  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่ากล้วยเป็นอาหารของใครได้บ้าง?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับอาหารของสิ่งมีชีวิตอื่น
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “อาหารเมนู “กล้วยข้าวเม่า” มีวัตถุดิบและขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับวัตถุดิบและขั้นตอนการทำอาหารเมนู “กล้วยข้าวเม่า” พร้อมเชื่อมโยงเข้าสู่โภชนาการที่จะได้รับจาก “เมนูกล้วยข้าวเม่า”
ใช้ :
  นักเรียนเตรียมวัตถุดิบในการประกอบอาหารเมนู “กล้วยข้าวเม่า”
(การบ้าน)
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
  ครูและนักเรียนทบทวนขั้นตอนการทำอาหารเมนู “กล้วยข้าวเม่า” พร้อมสร้างข้อตกลงร่วมกันในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ และการทำกิจกรรมร่วมกัน
ใช้ :
  ครูและนักเรียนร่วมกันประกอบอาหารเมนู “กล้วยข้าวเม่า” และรับประทานร่วมกัน
วันพฤหัสบดี(1ชั่วโมง)
ชง : 
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนเมื่อวาน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด เมื่อวานนักเรียนประกอบอาหารเมนูอะไร, มีวัตถุดิบอะไรบ้าง, นักเรียนได้คุณค่าทางโภชนาการอะไรบ้าง, มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร?”
เชื่อม : 
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกอบอาหาร และคุณค่าทางโภชนาการที่ร่างกายได้รับ
ชง :
- ครูนำผลไม้ชนิดอื่นๆ มาให้นักเรียนสังเกต เช่น ส้ม ลองกอง มังคุด และแก้วมังกร
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าผลไม้แต่ละชนิดเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร, แต่ละชนิดมีรสชาติอย่างไร, มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?
เชื่อม :                
  ครูและนักเรียนร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมือนและความต่างของผลไม้ รสชาติ และประโยชน์ที่จะได้รับจากผลไม้แต่ละชนิด
ใช้  : 
  นักเรียนจัดหมวดหมู่ผลไม้ที่มีสีและรสชาติให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน พร้อมทั้งบอกประโยชน์ของผลไม้ชนิดนั้น
   
วันศุกร์ (ชั่วโมง)
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง , นักเรียนได้ทำกิจกรรมอะไรบ้าง,ผลกล้วยสามารถนำไปทำอะไรได้บ้างและใครบ้างที่ได้ประโยชน์จากกล้วย”
เชื่อม :
  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำมาตลอดทั้งสัปดาห์
ใช้ :
- นักเรียน Show and Learn กระบวนการทำอาหารเมนู “กล้วยข้าวเม่า” เป็นกลุ่ม
- นักเรียนสอบถามผู้ปกครอง เกี่ยวกับอุปกรณ์และวิธีการทำกระทงใบกล้วยพร้อมทั้งเตรียมอุปกรณ์เพื่อนำมาทำกระทงใบกล้วย (การบ้าน)
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเมนูอาหารที่ทำจากผลกล้วยพร้อมเลือกเมนูที่จะทำ “เมนูกล้วยข้าวเม่า”
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวัตถุดิบและขั้นตอนการทำอาหารเมนู “กล้วยข้าวเม่า”
- ร่วมกันประกอบอาหารเมนู “กล้วยข้าวเม่า” และรับประทานร่วมกัน
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำมาตลอดทั้งสัปดาห์
- นำเสนอผลงาน
ชิ้นงาน       
- จิ้มสีภาพกล้วย
ความรู้
นักเรียนรู้และเข้าใจเห็นคุณค่าและประโยชน์ของผลกล้วย สามารถนำมาประกอบอาหารในเมนูที่หลากหลายเพื่อบริโภคได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
  -  คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้
ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน


ภาพตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้



















ภาพชิ้นงาน


















1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์ที่ 3 พี่ ๆ อนุบาล 2 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับผลของกล้วย ซึ่งพี่ๆ อนุบาล 2 ได้รู้จักผลของกล้วยมากขึ้นจากการสังเกตดูความเหมือน ความแตกต่างของผลกล้วยแต่ละชนิด เช่น “พี่แสตมป์: กล้วยหอมพี่เขาจะหอมและยาวๆ มีสีเหลือง กล้วยไข่จะเล็กๆ ไม่ยาวและไม่หอมครับ, พี่อ๋อมแอ๋ม: กล้วยเล็กๆ มีหลายๆ ลูกพี่เขาคือกล้วยเล็บมือนางจะไม่ใหญ่เท่ากล้วยหอมหรือว่ากล้วยน้ำหว้าค่ะ, พี่อุ้ม: กล้วยกับมะม่วงเหมือนกันตรงที่มะม่วงเวลาพี่เขาสุกจะมีสีเหลือง เวลาดิบพี่เขาจะมีสีเขียวเหมือนกับกล้วยค่ะ และกล้วยเวลาพี่เขายังไม่สุกจะมีรสฝาดแก้ปวดท้องได้ด้วยค่ะ ” จากนั้นพี่อนุบาล 2 ได้สอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับวัตถุดิบและวิธีการทำกล้วยข้าวเม่า พี่อนุบาล 2 ได้ประกอบอาหารเมนูกล้วยข้าวเม่ารับประทานร่วมกันและแบ่งปัน พี่อนุบาล 2 สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้โดยการนำเสนอพูดแสดงความคิดเห็นให้ครูและเพื่อนๆ ฟังและเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุด “พี่กาย : วิธีการทำกล้วยข้าวเม่าใส่น้ำ ใส่น้ำตาลปี๊ป ใส่ข้าวเม่ากับมะพร้าวขูด ชุปแป้งใส่ไข่ ใส่กะทิแล้วก็ทอดครับ” ในสัปดาห์นี้พี่ๆ อนุบาล 2 ให้ความร่วมมือและพร้อมที่จะเรียนรู้ดีมากค่ะ

    ตอบลบ